ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค ๒ จัดพิธีส่งเรือและกำลังพลไปปฏิบัติภารกิจแก้ปัญหาปะการังที่เกาะโลซิน

ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค ๒ จัดพิธีส่งเรือและกำลังพลไปปฏิบัติภารกิจแก้ปัญหาปะการังที่เกาะโลซิน

เมื่อวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๔ พลเรือตรี ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล(ศรชล.)ชี้แจงเพิ่มเติมกรณีการแก้ไขปัญหาอวนขนาดใหญ่ปกคลุมปะการัง บริเวณเกาะโลซิน ซึ่งตั้งอยู่ฝั่ง อ่าวไทย บริเวณจังหวัดปัตตานี ซึ่งหลายฝ่าย มีความเป็นห่วงว่าจะส่งผลกระทบ และสร้างความเสียหายแก่ปะการัง ที่มีความอุดมสมบูรณ์ในพื้นที่ โดยโฆษก ศรชล. แจ้งว่า เมื่อช่วงเย็นของวันนี้ (๑๘ เมษายน ๒๕๖๔)เวลา ๑๗.๐๐ น.พลเรือโท สำเริง จันทร์โส ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค ๒ / ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ ๒ (ผบ.ทรภ.2) เป็นประธานในพิธีส่งกำลังทางเรือออกเดินทางไปแก้ไขปัญหากรณีอวนขนาดใหญ่ปกคลุมปะการังบริเวณเกาะโลซิน ร่วมกับนาย อภิชัย เอกวนากุล และ นางสาวพรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยมี นายทหารชั้นผู้ใหญ่ใน กองบัญชาการทัพเรือภาคที่ ๒ นายทหารฝ่ายอำนวยการใน ศรชล.ภาค ๒ ร่วมพิธี ณ ท่าเทียบเรือฐานทัพเรือสงขลา โดยกำลังทางเรือที่ไปปฏิบัติภารกิจ ในครั้งนี้ ประกอบด้วย เรือหลวงราวี เริอ ต.๙๙๑ พร้อมชุดปฏิบัติงานใต้น้ำจำนวน ๑๕ นาย ร่วมกับกำลังจากกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ได้แก่ เรือ Liveaboard จำนวน ๑ ลำ เรือบรรทุกเครื่องมือประมงอวน จำนวน ๑ ลำ นักดำน้ำอาสาสมัครจำนวน ๓๐ คน และเรือทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จำนวน ๒ ลำ ที่จะเดินทางไปสมทบพื้นที่ปฏิบัติการใน วันที่ ๑๙ มิถุนายน โดย ผอ.ศรชล.ภาค ๒ ได้ให้โอวาทแก่กำลังพล ขอให้ระมัดระวังความปลอดภัยของตนเอง ปฏิบัติตามกฎของการปฎิบัติการใต้น้ำอย่างเคร่งครัดและระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายกับปะการัง โดยขอให้การปฎิบัติภารกิจครั้งนี้สำเร็จโดยราบรื่น

สำหรับแผนการดำน้ำเพื่อกู้อวนโดยสังเขปจะเริ่มปฏิบัติการบริเวณเกาะโลซิน ในวันที่ ๑๙ มิถุนายนนี้ เวลา ๐๖.๐๐ น. ทีมนักดำน้ำบนเรือหลวงราวี จะเริ่มปฏิบัติการโดยใช้การดำโดย แบบ Nitrox (Specialty) ซึ่งสามารถยืดระยะเวลาการอยู่ใต้น้ำให้นานขึ้น มากกว่าการดำน้ำด้วยถังอากาศแบบปกติ ใช้การตัดอวนออกเป็นผืนย่อยขนาด ๓x๓ เมตร ลอยขึ้นโดยใช้ถุงดึงขึ้นหรือใช้บอลลูนขนาดเล็ก ทำให้อวนที่ตัดแล้วลอยขึ้น ซึ่งคาดว่าน่าจะใช้เวลาประมาณ ๓ วัน

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้