ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕

ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕

พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ครั้งที่๒/๒๕๖๕ ณ ห้องประชุมกองบัญชาการกองทัพเรือ ชั้น ๖ อาคารกองบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน และผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Zoom) เมื่อวันที่ ๗ เมษายน ๒๕๖๕ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะเลขาธิการ ศรชล. รวมถึง กรรมการบริหาร ศรชล. และหน่วยงานด้านความมั่นคงที่สำคัญ ได้แก่ นายพชร อนันตศิลป์ อธิบดีกรมศุลกากร นายนิยม สองแก้ว อธิบดีกรมสวสัดิการและคุ้มครองแรงงาน พลตำรวจโท สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ นายภูริพัฒน์ ธีระกุลพิศุทธิ์ รองอธิบดีกรมเจ้าท่าด้านความปลอดภัย นายบัญชา สุขแก้ว รองอธิบดีกรมประมง นายพงศ์เทพ บัวทรัพย์ รองอธิบดีกรมศุลกากร นายอุกกฤต สตภูมินทร์ ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เข้าร่วมประชุม ฯ

สำหรับการประชุมคณะกรรมการบริหาร ศรชล. ครั้งที่๒/๒๕๖๕ เป็นกลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อน ศรชล. ตามพระราชบัญญัติการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล พ.ศ.๒๕๖๒ มีหน้าที่พิจารณาให้ความเห็นหรือข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดทำแผนงานโครงการและงบประมาณให้คำปรึกษาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ และอำนาจของ ศรชล. รวมทั้งวางระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ของ ศรชล. โดยมีสาระการประชุมที่สำคัญสรุป ดังนี้

๑.   ความก้าวหน้าในการขอความเห็นชอบต่อคณะรัฐมนตรี ในการจัดทำอัตรากำลังแทน ศรชล. ซึ่งดำเนินการรวบรวมเรื่องในการขออนุมัติอัตรากำลังแทนจากหน่วยงานหลักของ ศรชล. เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ เพื่อพิจารณาอนุมัติกำหนดอัตรากำลังแทนของ ๖ ส่วนราชการรวม ๘๕๕ อัตรา ต่อมาเมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๖๕ คณะรัฐมนตรีพิจารณาและเห็นชอบในหลักการเรียบร้อยแล้วหลังจากนี้หน่วยงานต่าง ๆ ของ ศรชล. จะดำเนินการตามแผนการบริหารจัดการกำลังพลของหน่วย เพื่อการบรรจุกำลังพลใน ศรชล. ต่อไป

๒. การจัดกิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนา ศรชล. เมื่อวันที่ ๙ มีนาคม ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๘ - ๙ มีนาคม ๒๕๖๕ ณ วัดชิโนรสารามวรวิหาร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการระลึกถึงความสำคัญและเกิดความภาคภูมิใจในการปฏิบัติภารกิจรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ให้มีความรักความสามัคคีความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันเป็นแรงผลักดันให้เกิดการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ โดยมีจัดกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ "จิตอาสาเราทำความ ดี ด้วยหัวใจ" และกิจกรรมประกอบพิธีสงฆ์เพิ่มความเป็นสิริมงคล รวมถึงเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน

๓. การแถลงผลสัมฤทธิ์ต่อคณะกรรมาธิการการทหารและความมั่นคงของรัฐวุฒิสภาของ ศรชล. ที่ผ่านมา ประกอบด้วย

   ๓.๑ การขับเคลื่อนแนวทางพัฒนาการรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเลโดยนำเสนอผลสัมฤทธิ์และผลการปฏิบัติงานที่สำคัญในห้วงปี ๒๕๖๒ - ๒๕๖๔ ในด้านการคุ้มครองการใช้ประโยชน์จากทะเลด้านการสร้างความสงบเรียบร้อยและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทะเล รวมทั้งโครงการตามแนวทางพัฒนาการรักษาความมั่นคงและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ดังนี้

      ๓.๑.๑ โครงการจัดหาระบบวิเคราะห์ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data)

      ๓.๑.๒ โครงการจัดหาระบบควบคุมการปฏิบัติและติดตามสถานการณ์ทางทะเล (C2)

      ๓.๑.๓ โครงการจัดหาระบบวิเคราะห์ข้อมูลเรือ

      ๓.๑.๔ โครงการจัดหาระบบฐานข้อมูลตำบลที่เรือที่ได้จากระบบรายงานตำบลที่เรืออัตโนมัติ (Automatic Identification System : AIS)

      ๓.๑.๕ โครงการบูรณาการและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานหลักของศรชล.

      ๓.๑.๖ โครงการจัดทำแผนเผชิญเหตุของศรชล. ในด้านต่างๆ

      ๓.๑.๗ โครงการพัฒนากลไกการประสานงานเพื่อสร้างเครือข่ายและความร่วมมือ

      ๓.๑.๘ โครงการจัดตั้งศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดPSCC (Port Security Control Centre)

      ๓.๑.๙ โครงการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศแบบONE MARINE CHART

ศรชล. ได้ชี้แจงการดำเนินงานที่สำคัญของ ศรชล. ในห้วงปีงบประมาณ ๒๕๖๓ - ๒๕๖๔ ในการดำเนินการต่อภัยคุกคามทางทะเล ได้แก่ ๑.) การกระทำอันเป็นโจรสลัดและการปล้นเรือโดยใช้อาวุธ ๒.) การทำการประมงผิดกฎหมาย ๓.) การค้ามนุษย์การลักลอบเข้าเมืองทางทะเล ๔.) การลักลอบขนยาเสพติด อาวุธ สินค้าต้องห้าม ๕.) การลักลอบค้า ลำเลียงสินค้า สองวัตถุประสงค์ตามมติข้อห้ามขององค์การสหประชาชาติ ๖.) เหตุการณ์ร้ายแรงทางทะเล ๗.) การก่อการร้ายทางทะเล ๘.) ภัยพิบัติทางธรรมชาติ ๙.) การกระทำผิดกฎหมายที่เป็นภัยต่อระบบนิเวศทางทะเล ๑๐.) สถานการณ์อื่น ๆ ที่ศรชล. กำหนดนำเสนอผลการดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายสั่งการจากรัฐบาล ได้แก่การดำเนินงานใน ศรชล. ในศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด - 19 (ศปก. ศบค.) การดำเนินการแก้ไขปัญหาจากกรณีอ่าวบ้านดอนจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นต้น

   ๓.๒ การโครงการพัฒนากลไกการบูรณาการความร่วมมือและการปฏิบัติกับทุกภาคส่วน ดังนี้

      ๓.๒.๑ โครงการประสานความร่วมมือระหว่าง ศรชล. กับกองอำนวยความมั่นคงภายในราชอาณาจักร

      ๓.๒.๒ โครงการความร่วมมือการคุ้มครองสิทธิในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินทางทะเล ระหว่างสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กับ ศรชล.

      ๓.๒.๓ โครงการหมายเลขโทรศัพท์สายด่วนของ ศรชล. เลขหมายโทรศัพท์ ๑๔๖๕ เพื่อเป็นช่องทางการสื่อสารจากภาคประชาชนสำหรับรับแจ้งเหตุฉุกเฉินเหตุด่วนเหตุร้ายการช่วยชีวิตประชาชน ซึ่งมีพื้นที่ให้บริการครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ

๔. ผลการปฏิบัติตามนโยบายการปฏิบัติงาน ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ทั้งนี้ ปัจจุบันในภาพรวมของการปฏิบัติตามนโยบายการปฏิบัติงานประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๕ ของทุกหน่วยงานใน ศรชล. เป็นไปตามเป้าหมายและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ตามแผน

๕. คณะกรรมการบริหาร ศรชล. เห็นชอบหลักสูตรพัฒนากำลังพล ศรชล. สำหรับข้าราชการบรรจุใหม่และระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับสวัสดิการของกำลังพลที่ปฏิบัติหน้าที่ใน ศรชล.

๖.  ขอความร่วมมือให้หน่วยต่าง ๆ บูรณาการการปฏิบัติงานเพื่อยกระดับการปฏิบัติงานในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล

การแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมาย ฯ (IUU Fishing) และการปราบปรามการค้ามนุษย์อย่างต่อเนื่อง และเป็นมาตรฐานเพื่อให้การรายงานสถานการณ์ด้านการค้ามนุษย์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ ฯ (TIP Report) ในภาคกิจกรรมทางทะเลของไทยจากระดับบัญชี ๒ กลุ่มประเทศเฝ้าระวังหรือ Tier 2 Watch List เป็นระดับบัญชี ๒ หรือ Tier 2

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้