ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

กองทัพเรือแถลงพบคราบน้ำมันกระจายตัวในทะเล ๔ จุด ใกล้เรือบรรทุกน้ำมันใกล้เรือบรรทุกน้ำมัน ๕๐๐,๐๐๐ ลิตร ที่อับปางกลางอ่าวไทย กองทัพเรือกำลังควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดและส่งยานสำรวจใต้น้ำดำค้นหาตำแหน่งเรือจม

กองทัพเรือแถลงพบคราบน้ำมันกระจายตัวในทะเล ๔ จุด ใกล้เรือบรรทุกน้ำมันใกล้เรือบรรทุกน้ำมัน ๕๐๐,๐๐๐ ลิตร ที่อับปางกลางอ่าวไทย กองทัพเรือกำลังควบคุมให้อยู่ในวงจำกัดและส่งยานสำรวจใต้น้ำดำค้นหาตำแหน่งเรือจม

เมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕ พลเรือโท ปกครอง มนธาตุผลิน โฆษกกองทัพเรือ แถลงว่าตามที่ได้เกิดเหตุการณ์เรือบรรทุกน้ำมันดีเซล ชื่อ ป.อันดามัน ๒ ซึ่งจอดทอดสมอและอับปางลงบริเวณห่างจากปากน้ำชุมพรประมาณ ๒๔ ไมล์ทะเล เมื่อวันที่ ๒๒ มกราคม ที่ผ่านมา โดยภายในเรือมีน้ำมันอยู่ประมาณ ๕๐๐,๐๐๐ ลิตร ซึ่งในวันนี้นับเป็นระยะเวลากว่า ๔๐ ชั่วโมง ที่เรือลำดังกล่าวที่จมลง ศูนย์ปฏิบัติกองทัพเรือ โดยศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ ๑ ส่งอากาศยานทำการสำรวจบริเวณโดยรอบพื้นที่ พบว่ามีคราบน้ำมันกระจายเป็นวงกว้างรอบพื้นที่เรือจม มีสีรุ้ง และมีกลิ่นแรง โดยยังเห็นการรั่วไหลและมีทิศทางขึ้นไปทางเหนือ เคลื่อนที่อย่างช้า ๆ จากจุดที่เรือจมขนานกับชายฝั่ง ห่างจากชายฝั่ง ๑๕ ไมล์ทะเล มีความกว้างประมาณ ๒๐๐ หลา และจากการส่งเรือหลวงบางระจันเข้าพื้นที่โดยใช้ Sonar ค้นหาตำแหน่งเรือจมที่ระดับความลึก ๔๖ เมตร พบว่าลักษณะการจม เรือวางตัวในแนวตะวันออก ตะวันตก หัวเรือเอียงจากพื้นประมาณ ๒๐ องศา จากนั้นได้ส่งยานสำรวจใต้น้ำ Seafox I (Inspection Vehicle) และนักประดาน้ำ ลงสำรวจในตำแหน่งเรือจม ซึ่งใช้เรือวีนัสเป็นฐานการดำ โดยเรือหลวงบางระจันและเรือหลวงสงขลาทำการทดลองฉีดน้ำแรงดันสูงในส่วนบนผิวน้ำ เพื่อเร่งกระบวนการแตกสลายของน้ำมันดีเซลที่รั่วไหลทั้งนี้โฆษกกองทัพเรือเปิดเผยว่า น้ำมันที่รั่วไหลออกมามีการกระจายตัว แตกตัว เข้าสู่กระบวนการระเหย จากภาพจะเห็นการจับตัวกับแพลงก์ตอน​ ไดโนแฟลกเจลเลต หรือ​ Noctiluca ซึ่งเป็นแพลงก์ตอนชนิดหนึ่ง​จาก​ ๓๒​ ชนิด​ เป็นสัตว์เซลล์​เดียว​ มีสาเหตุการเกิดได้หลายปัจจัย​ เช่น​ มีฝนตกหนัก​ คลื่นลมแรง​ ทำให้มีปริมาณธาตุ​อาหาร (Nutrient)​ เพิ่มมากขึ้นและมีสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมแก่การเจริญเติบโต​ของแพลงก์ตอน​ ซึ่งหากมีการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น​ จะทำให้เกิดภาวะ​น้ำมีออกซิเจนน้อย (Hypoxia)​ ในชั้นน้ำ​ นำไปสู่สาเหตุน้ำไม่มีออกซิเจนและทำให้สัตว์น้ำตายได้

โฆษกกองทัพเรือแถลงอีกว่า ศูนย์ปฏิบัติการกองทัพเรือเฝ้าติดตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดและรายงานผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ซึ่งกองทัพเรือมีความพร้อมทั้งยุทโธปกรณ์และกำลังพลในการรับมือต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยยานสำรวจใต้น้ำที่ประจำอยู่บนเรือหลวงบางระจันซึ่งถือเป็นยุทโธปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการด้านการล่าทำลายทุ่นระเบิด แต่สามารถนำมาปรับใช้กับภารกิจในการสำรวจและค้นหาเรือที่ที่ประสบเหตุในครั้งนี้ได้เป็นอย่างดี ซึ่งขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าการจัดหายุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ของกองทัพเรือนั้น กองทัพเรือภายใต้การนำของ พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ตระหนักดีว่างบประมาณที่กองทัพเรือได้รับเป็นภาษีของประชาชน ในการพิจารณาดำเนินการเรื่องใด ๆ จะดำเนินการตามเหตุผลความเป็นจริงที่สามารถอธิบายได้ โดยยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชา ชนเป็นสำคัญ

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้