ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

โฆษกกองทัพเรือชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม กรณีเรือรบพม่ายิงเรือประมงไทย

พลเรือเอก พาสุกรี  วิลัยรักษ์ โฆษกกองทัพเรือ เปิดเผยถึงกรณี เรือรบเมียนมาใช้อาวุธต่อเรือประมงไทย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว ทัพเรือภาคที่ ๓ ในฐานะศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค ๓ ได้รับแจ้งจากเรือมหาลาภธนวัฒน์ ๔ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๐.๔๕ นาฬิกา ว่าขณะที่เรือกำลังทำการประมง ร่วมกับกลุ่มเรือประมงบริเวณพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของเกาะพยาม จังหวัดระนอง กลุ่มเรือประมงได้ถูกเรือรบเมียนมาทำการใช้อาวุธ โดยตัวเรือได้รับความเสียหายน้ำเข้าเรือปริมาณมากและมีผู้บาดเจ็บ จำนวน ๒ คน โดยเรือรบเมียนมาได้เข้าจับกุมเรือประมงไทยจำนวน ๑ ลำ คือ เรือ ส เจริญชัย ๘ โดยมีลูกเรือจำนวน ๓๑ คน ถูกจับกุมไปยังเกาะย่านเชือกประเทศเมียนมา

ในการนี้ ทัพเรือภาคที่ ๓ โดย พลเรือโท สุวัจ  ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ ๓ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค ๓ ได้สั่งการให้ เรือ ต.๒๗๔ ให้การช่วยเหลือเรือประมงที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงเข้าค้นหาและช่วยเหลือลูกเรือประมง ดวงทวีผล ๓๓๓ ที่ได้รับบาดเจ็บและพลัดตกน้ำ ซึ่งผลการค้นหาพบว่ามีผู้เสียชีวิตหนึ่งราย  คาดว่าเกิดจากการสำลักน้ำขณะโดดน้ำหนี และผู้ได้รับบาดเจ็บ ๒ ราย คือ นายศรีเพ็ชร  บุตรทัด อายุ ๔๔ ปี ทำหน้าที่ไต๋เรือมหาลาภธนวัฒน์ ๔ ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ และลูกเรือชาวเมียนมาไม่ทราบชื่อ ได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแสไฟฟ้าช๊อตตามร่างกาย โดยได้นำผู้บาดเจ็บทั้งสองราย มาส่งท่าเทียบเรือน้ำลึก จังหวัดระนอง เพื่อเข้าทำการรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดระนองต่อไป โดยมอบให้ศูนย์ประสานงานชายแดนทางทะเลไทยเมียนมา ส่งกำลังพลเข้าไปร่วมสังเกตุการณ์และช่วยเหลือในการนำส่ง


   
โดยสรุป ได้ช่วยเหลือเรือประมงทั้งหมดจำนวน ๒ ลำ ประกอบด้วย เรือดวงทวีผล ๓๓๓ มีลูกเรือ ๒๙ คน (เสียชีวิต ๑ คน) และเรือมหาลาภธนวัฒน์ ๔ มีลูกเรือ ๓๓ คน (บาดเจ็บ ๒ คน)

โฆษกกองทัพเรือกล่าวว่า ในส่วนของการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป คือการประสานงานตามกลไกของคณะกรรมการ ในการเจรจานำเรือและลูกเรือประมงกลับสู่ประเทศไทย โดยในส่วนของศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ ๓ ได้สั่งการให้ศูนย์ประสานงานประมงชายแดนทางทะเลไทย - เมียนมา ติดต่อประสานงานกับผู้บังคับการสถานีเรือ ๕๘ เกาะย่านเชือก ประเทศเมียนมา เพื่อติดตามสถานการณ์เรือประมงและลูกเรือที่ถูกจับกุม ซึ่งทราบว่าเรือรบเมียนมาได้ดำเนินการจับกุมเรือประมงไทยจำนวน ๑ ลำจริง โดยทางการเมียนมากล่าวอ้างว่ามีกลุ่มเรือประมง จำนวนประมาณ ๑๕ ลำ เข้าไปทำการประมงในเขตน่านน้ำเมียนมา และจากการตรวจสอบพบว่า เรือประมงทั้ง ๑๕ ลำ เป็นเรือจากอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ที่เข้ามาหากินทำการประมงในเขตน่านน้ำของจังหวัดระนอง ซึ่งอาจไม่ชำนาญพื้นที่บริเวณดังกล่าว

ทั้งนี้ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจทหารราบที่ ๒๕ ในฐานะประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นไทย - เมียนมา จังหวัดระนอง (ประธาน TBC ฝ่ายไทย) จะมีการประชุมร่วมกับกับคณะกรรมการชายแดนไทยส่วนท้องถิ่นไทย - เมียนมา จังหวัดเกาะสอง (ประธาน TBC ฝ่ายเมียนมา) เพื่อพิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกเรือประมงที่ถูกจับกุม พร้อมทั้งขอให้ปล่อยตัวลูกเรือสัญชาติไทยทั้ง ๔ คนพร้อมเรือประมงกลับประเทศไทย นอกจากนี้เลขานุการ TBC ฝ่ายไทย ได้มีการประสานงานทางข้างไปยังเลขานุการ TBC ฝ่ายเมียนมาแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานกับผู้บัญชาการยุทธศาสตร์ จังหวัดเกาะสอง

โฆษกกองทัพเรือกล่าวต่อไปว่า ทัพเรือภาคที่ ๓ ยังคงจัดกำลังลาดตระเวนในพื้นที่และยืนยันการรักษาอธิปไตยในน่านน้ำไทย เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับชาวประมงที่ทำกินโดยสุจริต โดยศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ ๓ ได้เพิ่มเติมกำลังจัดเรือ ต.๙๙๓ ออกเรือลาดตระเวนในพื้นที่ เพื่อรักษาความปลอดภัยในเขตน่านน้ำไทย และให้หน่วยปฏิบัติการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งที่ ๔๕๑ ทำการตรวจการณ์  พลอตเป้าติดตามเรือในพื้นที่ และทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป้าให้กับเรือที่ปฏิบัติการในพื้นที่ เพื่อแจ้งเตือนให้กลุ่มเรือประมงในพื้นที่ได้รับทราบและหลีกเลี่ยงการทำการประมงในพื้นที่ที่อาจไม่ปลอดภัย พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ โดยประสานให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค ๓ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประชาสัมพันธ์จังหวัดระนอง ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดระนอง ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดระนอง สมาคมประมงจังหวัดระนอง  รวมถึงเครือข่ายประมงในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ให้เรือประมงไทยทำการประมงในเขตน่านน้ำไทย โดยไม่เข้าไปทำการประมงในพื้นที่ที่มีความความเสี่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิด

เรือประมงไทย ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าว ทัพเรือภาคที่ ๓ ในฐานะศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ภาค ๓ ได้รับแจ้งจากเรือมหาลาภธนวัฒน์ ๔ เมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เวลา ๐๐.๔๕ นาฬิกา ว่าขณะที่เรือกำลังทำการประมง ร่วมกับกลุ่มเรือประมงบริเวณพื้นที่ด้านทิศตะวันตกของเกาะพยาม จังหวัดระนอง กลุ่มเรือประมงได้ถูกเรือรบเมียนมาทำการใช้อาวุธ โดยตัวเรือได้รับความเสียหายน้ำเข้าเรือปริมาณมากและมีผู้บาดเจ็บ จำนวน ๒ คน โดยเรือรบเมียนมาได้เข้าจับกุมเรือประมงไทยจำนวน ๑ ลำ คือ เรือ ส เจริญชัย ๘ โดยมีลูกเรือจำนวน ๓๑ คน ถูกจับกุมไปยังเกาะย่านเชือกประเทศเมียนมา 

ในการนี้ ทัพเรือภาคที่ ๓ โดย พลเรือโท สุวัจ  ดอนสกุล ผู้บัญชาการทัพเรือภาคที่ ๓ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค ๓ ได้สั่งการให้ เรือ ต.๒๗๔ ให้การช่วยเหลือเรือประมงที่ได้รับความเสียหาย รวมถึงเข้าค้นหาและช่วยเหลือลูกเรือประมง ดวงทวีผล ๓๓๓ ที่ได้รับบาดเจ็บและพลัดตกน้ำ ซึ่งผลการค้นหาพบว่ามีผู้เสียชีวิตหนึ่งราย  คาดว่าเกิดจากการสำลักน้ำขณะโดดน้ำหนี และผู้ได้รับบาดเจ็บ ๒ ราย คือ นายศรีเพ็ชร  บุตรทัด อายุ ๔๔ ปี ทำหน้าที่ไต๋เรือมหาลาภธนวัฒน์ ๔ ได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ และลูกเรือชาวเมียนมาไม่ทราบชื่อ ได้รับบาดเจ็บจากการถูกกระแสไฟฟ้าช๊อตตามร่างกาย โดยได้นำผู้บาดเจ็บทั้งสองราย มาส่งท่าเทียบเรือน้ำลึก จังหวัดระนอง เพื่อเข้าทำการรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดระนองต่อไป โดยมอบให้ศูนย์ประสานงานชายแดนทางทะเลไทยเมียนมา ส่งกำลังพลเข้าไปร่วมสังเกตุการณ์และช่วยเหลือในการนำส่ง  
   
โดยสรุป ได้ช่วยเหลือเรือประมงทั้งหมดจำนวน ๒ ลำ ประกอบด้วย เรือดวงทวีผล ๓๓๓ มีลูกเรือ ๒๙ คน (เสียชีวิต ๑ คน) และเรือมหาลาภธนวัฒน์ ๔ มีลูกเรือ ๓๓ คน (บาดเจ็บ ๒ คน)

โฆษกกองทัพเรือกล่าวว่า ในส่วนของการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป คือการประสานงานตามกลไกของคณะกรรมการ ในการเจรจานำเรือและลูกเรือประมงกลับสู่ประเทศไทย โดยในส่วนของศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ ๓ ได้สั่งการให้ศูนย์ประสานงานประมงชายแดนทางทะเลไทย - เมียนมา ติดต่อประสานงานกับผู้บังคับการสถานีเรือ ๕๘ เกาะย่านเชือก ประเทศเมียนมา เพื่อติดตามสถานการณ์เรือประมงและลูกเรือที่ถูกจับกุม ซึ่งทราบว่าเรือรบเมียนมาได้ดำเนินการจับกุมเรือประมงไทยจำนวน ๑ ลำจริง โดยทางการเมียนมากล่าวอ้างว่ามีกลุ่มเรือประมง จำนวนประมาณ ๑๕ ลำ เข้าไปทำการประมงในเขตน่านน้ำเมียนมา และจากการตรวจสอบพบว่า เรือประมงทั้ง ๑๕ ลำ เป็นเรือจากอำเภอคุระบุรี จังหวัดพังงา ที่เข้ามาหากินทำการประมงในเขตน่านน้ำของจังหวัดระนอง ซึ่งอาจไม่ชำนาญพื้นที่บริเวณดังกล่าว

ทั้งนี้ ผู้บังคับการหน่วยเฉพาะกิจทหารราบที่ ๒๕ ในฐานะประธานคณะกรรมการชายแดนส่วนท้องถิ่นไทย - เมียนมา จังหวัดระนอง (ประธาน TBC ฝ่ายไทย) จะมีการประชุมร่วมกับกับคณะกรรมการชายแดนไทยส่วนท้องถิ่นไทย - เมียนมา จังหวัดเกาะสอง (ประธาน TBC ฝ่ายเมียนมา) เพื่อพิจารณาแนวทางการให้ความช่วยเหลือลูกเรือประมงที่ถูกจับกุม พร้อมทั้งขอให้ปล่อยตัวลูกเรือสัญชาติไทยทั้ง ๔ คนพร้อมเรือประมงกลับประเทศไทย นอกจากนี้เลขานุการ TBC ฝ่ายไทย ได้มีการประสานงานทางข้างไปยังเลขานุการ TBC ฝ่ายเมียนมาแล้ว ซึ่งอยู่ระหว่างการประสานกับผู้บัญชาการยุทธศาสตร์ จังหวัดเกาะสอง

โฆษกกองทัพเรือกล่าวต่อไปว่า ทัพเรือภาคที่ ๓ ยังคงจัดกำลังลาดตระเวนในพื้นที่และยืนยันการรักษาอธิปไตยในน่านน้ำไทย เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับชาวประมงที่ทำกินโดยสุจริต โดยศูนย์ปฏิบัติการทัพเรือภาคที่ ๓ ได้เพิ่มเติมกำลังจัดเรือ ต.๙๙๓ ออกเรือลาดตระเวนในพื้นที่ เพื่อรักษาความปลอดภัยในเขตน่านน้ำไทย และให้หน่วยปฏิบัติการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งที่ ๔๕๑ ทำการตรวจการณ์  พลอตเป้าติดตามเรือในพื้นที่ และทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลเป้าให้กับเรือที่ปฏิบัติการในพื้นที่ เพื่อแจ้งเตือนให้กลุ่มเรือประมงในพื้นที่ได้รับทราบและหลีกเลี่ยงการทำการประมงในพื้นที่ที่อาจไม่ปลอดภัย พร้อมทั้งป้องกันไม่ให้เกิดซ้ำ โดยประสานให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลภาค ๓ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ประชาสัมพันธ์จังหวัดระนอง ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจังหวัดระนอง ศูนย์ควบคุมความมั่นคงท่าเรือจังหวัดระนอง สมาคมประมงจังหวัดระนอง  รวมถึงเครือข่ายประมงในพื้นที่ ประชาสัมพันธ์ให้เรือประมงไทยทำการประมงในเขตน่านน้ำไทย โดยไม่เข้าไปทำการประมงในพื้นที่ที่มีความความเสี่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิด

Related Articles

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้