ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานเปิดโครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา กองทัพเรือ”

 ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานเปิดโครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา กองทัพเรือ”

พลเรือเอก ชาติชาย ศรีวรขาน ผู้บัญชาการทหารเรือ และ นางจุฬารัตน์ ศรีวรขาน นายกสมาคมภริยาทหารเรือ เป็นประธานเปิดโครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา กองทัพเรือ” พร้อมทั้งร่วมปล่อยพันธุ์ปลาและปลูกข้าวในแปลงนาสาธิต โดยมี พลเรือโท ก้องเกียรติ สัจวุฒิ เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือให้การต้อนรับ ณ ศูนย์การฝึก หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง ตำบลเกล็ดแก้ว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔

  
 
  

  
 
  
 
  
 
  
  
 
  
 
สำหรับโครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา กองทัพเรือ” นั้น กองทัพเรือได้ดำเนินการโดย น้อมนำเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาประยุกต์เป็นต้นแบบให้กำลังพลกองทัพเรือ และครอบครัว ตลอดจนประชาชนทั่วไป ใช้เป็นแนวทางในการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง สอดคล้องกับพระปฐมบรมราชโองการของ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการสืบสาน รักษา และต่อยอดพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร โดยปัจจุบันพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้ฯ ของกองทัพเรือ มีจำนวน ๗ พื้นที่ จาก ๑๐ หน่วยงาน ประกอบด้วย
- พื้นที่ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล จำนวน ๒ หน่วยงาน คือ ฐานทัพเรือกรุงเทพ และกรมยุทธศึกษาทหารเรือ (อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม)
- พื้นที่ จังหวัดชลบุรี จำนวน ๓ หน่วยงาน คือ กองเรือยุทธการ ฐานทัพเรือสัตหีบ และ หน่วยบัญชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่ง (อำเภอสัตหีบ)
- พื้นที่ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน ๑ หน่วยงาน คือ กรมสวัสดิการทหารเรือ (อำเภอบางน้ำเปรี้ยว)
- พื้นที่ จังหวัดตราด จำนวน ๑ หน่วยงาน คือ ทัพเรือภาคที่ ๑ (อำเภอแหลมงอบ)
- พื้นที่ จังหวัดสงขลา จำนวน ๑ หน่วยงาน คือ ทัพเรือภาคที่ ๒ (อำเภอเมืองสงขลา)
- พื้นที่ จังหวัดพังงา จำนวน ๑ หน่วยงาน คือ ทัพเรือภาคที่ ๓ (อำเภอท้ายเหมือง)
- พื้นที่ จังหวัดจันทบุรี จำนวน ๑ หน่วยงาน คือ หน่วยบัญชาการนาวิกโยธิน (อำเภอโป่งน้ำร้อน)
 
  

 
โครงการศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ “โคก หนอง นา กองทัพเรือ” ได้ดำเนินการตั้งแต่เดือนตุลาคม ๒๕๖๓ เป็นต้นมา มีการปฏิบัติที่สำคัญได้แก่ การให้ความรู้การทำเกษตรทฤษฎีใหม่ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยแบ่งออกเป็นฐานการเรียนรู้ต่าง ๆ เช่น ฐานการปลูกต้นไม้ ฐานการปลูกมะนาวในบ่อวงซีเมนต์ ฐานการเลี้ยงปลา ฐานการเลี้ยงกบ ฐานการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้ ฐานการเลี้ยงหมู
ฐานการทำปุ๋ยหมัก ฐานการเลี้ยงไก่ และฐานการปลูกอ้อยเป็นต้น ซึ่งปัจจุบันศูนย์การเรียนรู้ต่าง ๆของกองทัพเรือ มีความพร้อมในระดับ “ก้าวหน้า” สามารถประชาสัมพันธ์ให้กำลังพล ครอบครัวและประชาชนทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมชมโครงการ เพื่อศึกษาและนำไปใช้เป็นแนวทางการดำรงชีวิตแบบพึ่งพาตนเอง ตามวัตถุประสงค์ของโครงการ ต่อไป



อนี่ง โคก หนอง นา โมเดล คือ การจัดการพื้นที่ ซึ่งเหมาะกับพื้นที่การเกษตร ที่เป็นการผสมผสานเกษตรทฤษฎีใหม่เข้ากับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่อยู่อย่างสอดคล้องกับธรรมชาติในพื้นที่นั้น ๆ โคก - หนอง - นา โมเดล เป็นการให้ธรรมชาติจัดการตัวมันเอง โดยมีมนุษย์เป็นส่วนส่งเสริมให้มันสำเร็จเร็วขึ้นอย่างเป็นระบบ
ซึ่งโคก - หนอง - นา โมเดล เป็นแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์และการสร้างชีวิตที่ยั่งยืน โดยมีองค์ประกอบดังนี้
๑. โคก : พื้นที่สูง ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ​๔ อย่าง” ตามแนวทางพระราชดำริ / ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย / ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศ
๒. หนอง : หนองน้ำหรือแหล่งน้ำ ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น และเป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม (หลุมขนมครก) / ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น ลดพลังงานในการรดน้ำต้นไม้ / ทำฝายทดน้ำ เพื่อเก็บน้ำเข้าไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะเมื่อพื้นที่โดยรอบไม่มีการกักเก็บน้ำ น้ำจะหลากลงมายังหนองน้ำ และคลองไส้ไก่ ให้ทำฝายทดน้ำเก็บไว้ใช้ยามหน้าแล้ง / พัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ ทั้งการขุดลอก หนอง คู คลอง เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้ง และเพิ่มการระบายน้ำยามน้ำหลาก
๓. นา : พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็ก ๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน / ยกคันนาให้มีความสูงและกว้าง เพื่อใช้เป็นที่รับน้ำยามน้ำท่วม ปลูกพืชอาหารตามคันนา        

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้