ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) นำร่องตรวจสอบการทำงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า – ออก (PIPO Audit Team) ในพื้นที่จังหวัดสงขลา

ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) นำร่องตรวจสอบการทำงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า – ออก (PIPO Audit Team)  ในพื้นที่จังหวัดสงขลา

พลเรือโท วรรณพล  กล่อมแก้ว  รองหัวหน้าสำนักงานเลขานุการ  ศูนย์บัญชาการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) ในฐานะหัวหน้าคณะตรวจสอบการทำงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า – ออก (PIPO Audit Team) นำชุดตรวจสอบฯ ของ ศปมผ. ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากส่วนราชการต่างๆ ได้แก่ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมเจ้าท่า กรมประมง และ กรมการจัดหางาน  เข้าตรวจสอบการทำงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า – ออก  (PIPO) จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๕๖๐
 
สำหรับการทำงานของชุดตรวจสอบ ศปมผ.ในครั้งนี้ ถือเป็นการตรวจสอบศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้า - ออก อย่างเป็นทางการครั้งแรก ตามคู่มือชุดตรวจสอบการทำงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก ที่ได้จัดทำขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้การปฏิบัติงานของศูนย์ทุกแห่งปฏิบัติไปในแนวทางเดียวกัน และเป็นไปตามมาตรฐานในการแก้ไขปัญหาการทำการประมงผิดกฏหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม โดยชุดตรวจสอบ ๑ ชุด จะประกอบไปด้วย หัวหน้าคณะตรวจสอบ ซึ่งจัดนายทหารชั้นยศนายพลเรือ ในส่วนของ รองหัวหน้าชุดฯ จำนวน ๒ นาย จะจัดจาก ผู้แทนกรมประมง และ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน  เจ้าหน้าที่ชุดตรวจฯ ๕ นาย จัดจาก ศปมผ. กรมการจัดหางาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กรมประมง กรมเจ้าท่า และผู้แทนจาก ศูนย์ประสานการปฏิบัติในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ในพื้นที่รับผิดชอบ หน่วยละ ๑ คน นอกจากนี้สามารถให้ผู้แทนจาก มูลนิธิ Environmental Justice Foundation(EJF) เป็นผู้ร่วมสังเกตการณ์ได้ ตามแต่กรณีที่ EJF สนใจ  
 
       สำหรับชุดตรวจสอบฯ จะมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบการปฏิบัติงานด้านต่างๆของศูนย์ PIPO  รวมถึงตรวจสอบมาตรฐานการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่รายบุคคล  ตามกระบวนการตรวจที่ระบุไว้ในคู่มือ  รวมทั้งกระบวนการรับเรื่องร้องเรียน และการขอความช่วยเหลือของผู้ประกอบการเรือประมง  จากนั้นจะรายงานผลการตรวจสอบ ข้อขัดข้อง และข้อเสนอแนะ เพื่อให้มีการพิจารณาสั่งการต่อไป ซึ่งการดำเนินการต่างๆเหล่านี้ นับได้ว่าเป็นส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งที่จะทำให้การดำเนินการต่าง ๆ ของ ศปมผ.  ยกระดับให้การพัฒนากิจการประมงของไทยเกิดความยั่งยืน อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงความตั้งใจจริงของรัฐบาล ในการสร้างกลไกในการตรวจสอบ และการบังคับใช้กฎหมาย ของหน่วยงานทางทะเล รวมถึงการกำกับดูแลด้านแรงงานในภาคประมงให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดเป็นที่ยอมรับของสากล ส่งเสริมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม 
 
  
  
  
  
  
  
 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้