ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

ทัพเรือภาคที่ ๓ นำกำลังพลในสังกัดเข้าอบรมปฏิบัติการเรียนรู้และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ จากเจ้าหน้าที่ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ทัพเรือภาคที่ ๓ นำกำลังพลในสังกัดเข้าอบรมปฏิบัติการเรียนรู้และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ จากเจ้าหน้าที่ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

ทัพเรือภาคที่ ๓ นำกำลังพลในสังกัดเข้าอบรมปฏิบัติการเรียนรู้และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ จากเจ้าหน้าที่ของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยใช้พื้นที่บริเวณโดยรอบกองบัญชาการทัพเรือภาคที่ ๓ พื้นที่ป่าชายเลนตามธรรมชาติ บริเวณบ้านพักข้าราชการกองทัพเรือ ทัพเรือภาคที่ ๓ พื้นที่สวนป่าบางขนุน และพื้นที่เกาะตะเภาน้อย โดยเจ้าหน้าที่โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ฯ ได้บรรยายและแนะนำวิธีการเก็บข้อมูลพรรณไม้ รวมถึงการวางแปลงศึกษาพรรณไม้ เพื่อวิเคราะห์สังคมพืช ชนิดพันธุ์ไม้ ที่จะนำไปสู่ข้อมูลการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่จะช่วยลดปัญหาโลกร้อนได้ต่อไป ณ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๖๖

นอกจากนี้ยังได้วางแนวทางการเรียนรู้สำหรับเยาวชน โดยใช้ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่น สร้างแหล่งเรียนรู้ในธรรมชาติ สร้างจิตสำนึกให้กับเยาวชน ให้เห็นคุณค่าและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ และมีความหลากหลายทางพันธุกรรมพืช ชนิดพืช พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชมาก่อนที่คำว่า “ความหลากหลายทางชีวภาพ (biological diversity) และอนุรักษ์ (couservation)” จะเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย จากการเสด็จแปรพระราชฐานไปประทับ ณ วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ เมื่อเสด็จผ่าน อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ได้ทรงทอดพระเนตรเห็นต้นยางนาขนาดใหญ่ขึ้นเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงมีพระกระแสรับสั่งให้เก็บเมล็ดพันธุ์ยางนาไปเพาะที่ตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล อำเภอหัวหิน และนำต้นยางนาที่เพาะได้ มาปลูกในสวนจิตรลดาเพื่อเป็นแหล่งศึกษา

ต่อมาในปีพุทธศักราช ๒๕๒๘ ทรงมีพระราชดำริให้ทำการอนุรักษ์ต้นขนุนในพระบรมมหาราชวัง และได้ดำเนินโครงการอนุรักษ์พรรณไม้ในพระราชวังต่าง ๆ โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ ทรงมีพระราชดำริให้มีการอนุรักษ์และขยายพันธุ์หวาย รวมทั้งดำเนินการจัดสร้างสวนสมุนไพรในโครงการส่วนพระองค์ ฯ สวนจิตรลดา ต่อมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้ทรงสานต่องานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชและทรงมีพระราชดำริกับท่านเลขาธิการพระราชวัง ให้มีการดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศ ซึ่งในเดือนมิถุนายน ปีพุทธศักราช ๒๕๓๕ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ ได้ดำเนินการจัดสร้างธนาคารพืชพรรณสำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์โดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ รวมทั้งการศึกษาที่มิใช่พืชเศรษฐกิจ แต่ให้มีการศึกษาและอนุรักษ์พันธุกรรมพืช โดยนำพระราชดำริ ฯ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มาเป็นกรอบในการดำเนินการอีกด้วย

  

  

ทั้งนี้ ทัพเรือภาคที่ ๓ จะดำเนินการสำรวจพันธุ์ไม้ให้ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบ อันจะนำไปสู่แนวทางการปกปักรักษา เพิ่มปริมาณก๊าซออกซิเจนและลดภาวะโลกร้อน ที่นับวันจะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

  

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้