ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล "พลเรือเอก กวี สิงหะ” ประจำปี ๒๕๖๔

ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล "พลเรือเอก กวี สิงหะ” ประจำปี ๒๕๖๔

พลเรือเอก สมประสงค์ นิลสมัย ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล "พลเรือเอก กวี สิงหะ” ประจำปี ๒๕๖๔ โดยมี พลเรือเอก ธีรกุล กาญจนะ รองผู้บัญชาการทหารเรือ พลเรือเอก ภราดร พวงแก้ว ประธานที่ปรึกษากองทัพเรือ พลเรือเอก สุวิน แจ้งยอดสุข ผู้บัญชาการกองเรือยุทธการ ร่วมพิธี ณ ห้องวุฒิไชยเฉลิมลาภ ชั้น ๒ อาคารราชนาวิกสภา เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน ๒๕๖๕

รางวัล “พลเรือเอก กวี สิงหะ” เริ่มขึ้นตั้งแต่ปี ๒๕๓๘ โดยคุณหญิง กมลนารี สิงหะ และทายาท พลเรือเอก กวี สิงหะ มีความประสงค์ที่จะมอบรางวัลให้กับนักเขียนบทความ ที่ลงพิมพ์เผยแพร่ในนิตยสารนาวิกศาสตร์ และได้รับการคัดเลือกให้เป็นบทความดีเด่นประจำปี เพื่อเป็นการระลึกถึง “พลเรือเอก กวี สิงหะ” อดีตผู้บัญชาการทหารเรือ และรัฐมนตรีช่วยกระทรวงกลาโหม ซึ่งจะนำบทความที่ได้รับการคัดเลือกเป็นบทความดีเด่น ลงพิมพ์เผยแพร่ในนาวิกศาสตร์ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นเดือนเกิดและเดือนที่ถึงแก่อนิจกรรมของ พลเรือเอก กวี สิงหะ

 

โดยการมอบรางวัลกำหนดจัดให้มีพิธีมอบรางวัลฯ ในวันคล้ายวันก่อตั้งราชนาวิกสภาในเดือนเมษายน ของทุก ๆ ปี สำหรับบทความที่ได้รับรางวัล “พลเรือเอก กวี สิงหะ” ประจำปี ๒๕๖๔ มีดังต่อไปนี้

๑. รางวัลบทความดีเด่น เรื่อง “สร้างเหล็กในคน” เขียนโดย น.อ.ถุงเงิน จงรักชอบ
“เรื่องนี้ผู้เขียนได้ถ่ายทอดประสบการณ์ในการสร้างเหล็กในคนของหลักสูตรนักเรียนจ่าทหารเรือ และการสร้างเหล็กในคนในการฝึกภาคทะเลหลักสูตรนักเรียนนายเรือ รวมทั้งประสบการณ์ในการรับราชการที่ผ่านมาของผู้เขียนด้วย”

๒. รางวัลชมเชยอันดับที่ ๑ เรื่อง “ผู้บังคับการเรือมือใหม่” เขียนโดย น.อ.วีรุตม์ ฉายะจินดา
“บทความนี้ผู้เขียนมีแรงบันดาลใจ จากการที่ได้สอบผ่านการคัดเลือกเป็นผู้บังคับการเรือ จึงได้ถ่ายทอดประสบการณ์หน้าที่ผู้บังคับการเรือ ให้กับผู้ที่จะเป็นผู้บังคับการเรือครั้งแรกในชีวิต ตั้งแต่การเตรียมการจนถึงการปฏิบัติงานในทะเล เพื่อนำไปปรับใช้ต่อไป”

 

๓.รางวัลชมเชยอันดับที่ ๒ เรื่อง “บทเรียนการกลับมาของ USS. John S. McCain (THE BIG BAD JOHN IS BACK!!)” เขียนโดย น.อ.ภาณุพันธุ์ รักษ์แก้ว
“บทความนี้ถ่ายทอดการสรุปบทเรียนของกองทัพเรือสหรัฐฯ จากกรณีการเกิดอุบัติเหตุของเรือรบ USS. John S. McCain ซึ่งทำให้กำลังพลสูญหาย ๑๐ นาย กองทัพเรือสหรัฐฯ ไม่ได้ลงโทษแต่ผู้บังคับการเรือ หรือผู้ปฏิบัติงานที่ผิดพลาดเท่านั้น แต่มองที่ระบบและศึกษาหาสาเหตุที่เกิดขึ้นอย่างถ่องแท้ และยอมรับในการแก้ไขปรับปรุง เพื่อให้กำลังพลประจำเรือและยุทโธปกรณ์มีความปลอดภัย”

๔.รางวัลชมเชยอันดับที่ ๓ เรื่อง “บทเรียนจากเหตุการณ์อุบัติเหตุเรือดำน้ำ KRI Nanggala ของอินโดนีเซีย” เขียนโดย น.ท.สุระ บรรจงจิตร
“เหตุการณ์อุบัติเหตุเรือดำน้ำ KRI Nanggala ของกองทัพเรืออินโดนีเซีย นับเป็นอุบัติเหตุเรือดำน้ำร้ายแรงครั้งแรกที่เกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กองทัพเรือควรให้ความสำคัญ เป็นอันดับแรกในการสร้างความร่วมมือกับต่างประเทศที่มีขีดความสามารถในการช่วยเหลือกู้ภัยเรือดำน้ำ โดยควรมีความร่วมมือมากกว่า ๑ 1 ประเทศ รวมถึงการเตรียมการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อรองรับความร่วมมือด้วย”

๕.รางวัลนักเขียนหน้าใหม่ เรื่อง “พัฒนาการของสงครามทุ่นระเบิด แบบย่อยง่ายตามไทม์ไลน์ของประวัติศาสตร์ จากอดีตสู่ปัจจุบันและมุ่งไปยังอนาคต” เขียนโดย น.ท.ธารไชยยันต์ ตันติอำนวย
“การสงครามทุ่นระเบิดมีความสลับซับซ้อน และมีความเฉพาะทางสูง พัฒนาการของสงครามทุ่นระเบิดมีการเปลี่ยนแปลงไปตามเทคโนโลยีของโลก ตั้งแต่ยุคโบราณหรือยุคเริ่มต้น ยุคสงครามโลกครั้งที่ ๑ ยุคสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุคปัจจุบันหรือยุคดิจิตอลใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์สร้างโปรแกรมการจุดระเบิด และในอนาคตเทคโนโลยีใหม่ๆ ทุ่นระเบิดจะมีฐานข้อมูล จะสามารถประมวลผลได้แม่นยำมากยิ่งขึ้นด้วย”

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้