เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เป็นหนึ่งในเรือพระที่นั่ง และพระราชพิธี กระบวนพยุหยาตราชลมารค เป็นเรือที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างมาก ในปัจจุบันจัดแสดงอยู่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เรือพระราชพิธี ปากคลองบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย
ประวัติ
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์มีชื่อกล่าวถึงเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงศรีอยุธยาต้นรัชกาลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิราวปี พ.ศ. 2091 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเรียกว่า "สุวรรณหงส์" ดังทราบได้จากบทเห่เรือของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร์ฯที่ว่า
![]() |
|
![]() |
ในหนังสือตำนานเรือรบไทยพระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงกล่าวไว้ว่า เรือศรีสุพรรณหงส์สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ตามจดหมายเหตุเมื่อปี พ.ศ. 2370 มีหมายรับสั่งให้จัด "เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์" เป็นเรือทรงพระบรมธาตุที่ได้มาจากเวียงจันทน์ ในจดหมายเหตุในรัชกาลที่ 3 และรัชกาลที่ 4 เรียกชื่อเรือนี้ว่า "เรือศรีสุพรรณหงส์" เรือศรีสุพรรณหงส์ได้ชำรุดทรุดโทรมเรื่อยมา และได้รับการซ่อมแซมมาหลายครั้ง
เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ลำปัจจุบัน เป็นเรือพระที่นั่งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ต่อขึ้นใหม่เพราะเรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์ลำเดิมผุพังเกินที่จะซ่อมได้ แต่มาเสร็จสมบูรณ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และเปลี่ยนชื่อเป็นเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ มีพลตรีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่าง ประกอบพิธีลงน้ำ เมื่อวันที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ 2454
นาวาสถาปนิกของเรือสุพรรณหงส์คือ พลเรือตรีพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) จัดเป็นเรือพระที่นั่งกีบ มักใช้เป็นเรือพระที่นั่งทรงของพระเจ้าอยู่หัว โขนเรือเป็นรูปหงส์ ลงรักปิดทองประดับกระจก ภายนอกทาสีดำ ท้องเรือภายในทาสีแดง ยาว 44.9 เมตร กว้าง 3.14 เมตร ลึก 0.9 เมตร กินน้ำลึก 0.41 เมตร กำลัง 3.5 เมตร (พายครั้งหนึ่งแล่นไปได้ไกล 3.5 เมตร) หนัก 15.1 ตัน พายทอง
เรือสุพรรณหงส์ใช้ลูกเรือทั้งสิ้น 57 คนเป็นฝีพาย 50 คน นายท้าย 2 คน นายเรือ 2 คน คนถือธง 1 คน พลสัญญาณ 1 คน และคนเห่เรือ 1 คน
ด้วยความสำคัญของเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ จึงทำให้องค์การเรือโลกแห่งสหราชอาณาจักร ให้ความสนใจส่งผู้แทนมาพิจารณามอบรางวัลเรือโลกแก่เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2535 คณะกรรมการองค์การ World Ship Trust ประกอบด้วยนายอีเวนเซาท์บี-เทลยัวร์ ประธานองค์การเรือโลก นายไมเคล ไทยแนน (Michael Tynan) นักกฎหมายประจำองค์การฯ และนายเจมส์ ฟอร์ไซธ์ ได้เดินทางมายังประเทศไทย เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญรางวัลเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ เหรียญรางวัลมรดกทางทะเลขององค์การเรือโลก ประจำปี พ.ศ. 2535 (The World Ship Trust Maritime Heritage Award 'Suphannahong Royal Barge') จากนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเหรียญรางวัลดังกล่าวแก่อธิบดีกรมศิลปากร ซึ่งเป็นกรมที่มีหน้าที่รับผิดชอบดูแลรักษาเรือพระที่นั่ง
บทเห่เรือของ เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ ในกาพย์เห่เรือฉบับต่างๆ เป็นดังนี้
![]() |
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้