ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

ผู้บัญชาการทหารเรือตรวจเยี่ยมการทดสอบขีดความสามารถของเรือหลวงช้างในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนและหาดยาว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี

พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เดินทางไปเรือหลวงช้าง เพื่อตรวจเยี่ยมการทดสอบขีดความสามารถของเรือหลวงช้าง ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน และหาดยาว อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย การทดสอบขีดความสามารถการเคลื่อนกำลังจากเรือสู่ฝั่ง ในการปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก และ การทดสอบขีดความสามารถในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเล และ จัดตั้ง โรงพยาบาลสนามบนเรือ อีกทั้งการใช้ขีดความสามารถของครัวประจำเรือเพื่อเตรียมอาหารสำหรับผู้ประสบภัย ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อมกรณีเกิดภัยพิบัติในทะเล ณ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม ๒๕๖๖

ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ โดยจากสถิติที่ผ่านมา มักจะเกิดพายุในพื้นที่อ่าวไทยตอนบนและทางทะเลฝั่งอันดามัน อันอาจจะส่งผลกระทบทำให้เรือต่าง ๆ เกิดปัญหาอับปางในทะเล รวมถึงอาจส่งผลกระทบต่อจังหวัดชายทะเล ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันส่งผลกระทบโดยตรงต่อความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชน โดยเฉพาะพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่เกาะต่าง ๆ รวมถึงพื้นที่ที่ถูกตัดขาด (Isolate Area) ซึ่งการให้ความช่วยเหลือจากทางบกไม่สามารถดำเนินการได้ จำเป็นต้องใช้การช่วยเหลือจากทางทะเล (From The Sea) เท่านั้น โดยการทดสอบขีดความสามารถของเรือหลวงช้างในครั้งนี้ ได้บูรณาการกำลังจากหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพเรือประกอบด้วย เฮลิคอปเตอร์ จำนวน ๓ เครื่อง เรือระบายพลขนาดเล็ก LCVP จำนวน ๒ ลำ เรือระบายพลขนาดกลาง LCM จำนวน ๒ ลำ และรถโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV)

เรือหลวงช้าง เป็นเรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ มีขีดความสามารถในการปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งลำเลียงอีกทั้งเป็นเรือบัญชาการ การค้นหาและกู้ภัยทางทะเล และพร้อมให้การสนับสนุนการปฏิบัติการเรือดำน้ำ รวมทั้งสนับสนุนการช่วยเหลือกู้ภัยเรือดำน้ำ ซึ่งเป็นภารกิจในการป้องกันประเทศ อีกทั้งยังมีขีดความสามารถในการช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัย การอพยพประชาชน สนับสนุนการป้องกันและต่อต้านการก่อการร้ายในทะเล และท่าเรือ ซึ่งเป็นภารกิจในการให้ความช่วยเหลือประชาชน ซึ่งเป็นงานที่สำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน

เรือหลวงช้าง เรืออเนกประสงค์ยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ซึ่งจากคุณลักษณะของเรือ จัดเป็นเรือยกพลขึ้นบกอู่ลอย คือเป็นเรือที่มีอู่อยู่ภายในเรือ โดยคุณลักษณะนี้เองทำให้ เรือหลวงช้าง สามารถบรรทุกเรือระบายพล หรือเล็กประเภทต่างๆ ได้ ซึ่งแตกต่างจากเรือยกพลขึ้นบกแบบเดิมที่ใช้งาน คือ เรือ LST หรือ เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ ซึ่งจะสามารถบรรทุกได้แค่ยานพาหนะ หรือรถประเภทต่าง ๆ เท่านั้น นับเป็นเรือที่มีความทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติภารกิจ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติในทะเล

ด้วยสภาพทางภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) ที่ประเทศไทยมี ๒ ฝั่งมหาสมุทร ได้แก่ ฝั่งอ่าวไทย และฝั่งอันดามัน มีพื้นที่ทางทะเลมากกว่า ๓๑๔,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร กองทัพเรือได้กำหนดการสร้างความมั่นคงของชาติทางทะเล ตามแนวคิดระดับยุทธศาสตร์ว่า “ปฏิบัติการสองฝั่งมหาสมุทรและสามพื้นที่ปฏิบัติการ” หรือ “Two Oceans and Three Areas (OOAAA)” เรือหลวงช้างจะเพิ่มขีดความสามารถในการปฏิบัติการ ซึ่งจะทำให้การช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติในทะเล เป็นไปด้วยความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ ได้ทั้งสองฝั่งทะเล

เรือหลวงช้าง มีกำลังพลประจำเรือจำนวนทั้งสิ้น ๑๙๖ นาย โดยมีคุณลักษณะที่สำคัญดังนี้

- ความยาวตลอดลำ ๒๑๓ เมตร ความกว้าง ๒๘ เมตร กินน้ำลึก ๗ เมตร ระวางขับน้ำสูงสุด ๒๓,๐๐๐ ตัน มีห้องพัก (Troops) กำลังพล และ/หรือ ผู้ประสบภัย รวมกัน ได้ ๖๐๐ คน ซึ่งมากกว่าเรือหลวงอ่างทอง ที่บรรทุกได้ ๓๖๐ คน และ หากต้องปฏิบัติการอพยพ ประชาชนสามารถใช้พื้นที่ในดาดฟ้าบรรทุกรถ จัดพื้นที่รับผู้ประสบภัยได้เพิ่มเติมอีกกว่า ๒๐๐ คน ทำให้สามารถให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้เพิ่มขึ้น แต่เรือหลวงช้าง สามารถช่วยเหลือผู้ประสบภัยได้ไม่น้อยกว่า ๘๐๐ คน ซึ่งรองรับจำนวน ได้มากกว่าเรือหลวงอ่างทอง
- สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ ๒๓ น็อต นั้นหมายถึงใน ๑,๕๐๐ ไมล์ของทะเลไทยนั้น เรือหลวงช้างจะสามารถเข้าถึงพื้นที่ประสบภัยไกลสุดคือ ๑,๕๐๐ ไมล์ โดยใช้ระยะเวลาประมาณ ๒ วันกว่า หรือ สัตหีบ - เกาะสมุย (๒๐๐ ไมล์) ใช้เวลาเดินทางเพียง ๘ ชั่วโมง และเรือหลวงช้างสามารถปฏิบัติการในทะเลได้ต่อเนื่องที่ไม่น้อยกว่า ๔๕ วัน หรือที่ระยะทาง ๘,๐๐๐ ไมล์ ที่ความเร็วมัธยัสถ์ ๑๘ น็อต และทีสำคัญในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยนั้น ความรวดเร็วในการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลเป็นปัจจัยสำคัญในการช่วยชีวิตผู้ประสบภัย

นอกจากนั้นแล้ว เรือหลวงช้าง มีความคงทนทะเลอยู่ที่ Sea State 9 คือ คลื่นสูงมากกว่า ๑๔ เมตร แต่การปฏิบัติภารกิจในสภาวะ Sea State 9 ต้องพิจารณาความปลอดภัย ในการปฏิบัติการซึ่งมีข้อจำกัดของการปฏิบัติการของอากาศยาน และเรือเล็ก ซึ่งจากสถิติที่ผ่านมาของประเทศไทย ได้เกิดพายุขนาดใหญ่ที่มีความรุนแรง จำนวน ๔ ครั้ง ได้แก่ พายุแฮเรียต ในปี ๒๕๐๕ (Sea State 8) พายุโซนร้อนกำลังแรงลินดา ในปี ๒๕๔๐ (Sea State 9) พายุโซนร้อนปลาปึก ในปี ๒๕๖๒ (Sea State 8) โดยพายุที่รุนแรงที่สุดได้แก่ พายุไต้ฝุ่นเกย์ ในปี ๒๕๓๒ มี Sea State 9 คลื่นสูงมากกว่า ๑๔ เมตร
- เรือหลวงช้าง สามารถบรรทุก รถสะเทินน้ำสะเทินบก (AAV) ได้ ๕๖ คัน หรือ ยานเกราะล้อยาง (MBT) ๒๐ คัน เรือระบายพลขนาดกลาง (LCM) ๖ ลำ หรือ เรือระบายพลขนาดเล็ก (LCVP) ๙ ลำ หรือ ยานเบาะอากาศ (LCAC) จำนวน ๒ ลำ นอกจากนั้น ยังสามารถบรรทุกกำลังรบยกพลขึ้นบกพร้อมอุปกรณ์ได้ถึง ๖๕๐ นาย
จะเห็นได้ว่า เรือหลวงช้าง สามารถบรรทุกรถยนต์ประเภทต่าง ๆ รวมทั้ง เรือระบายพล เรือเล็ก ซึ่งจากขีดความสามารถเหล่านี้ ทำให้พิจารณาการลำเลียงยานพาหนะที่เหมาะสมในการให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดภัยพิบัติได้หลากหลาย

- ดาดฟ้าเฮลิคอปเตอร์ รองรับเฮลิคอปเตอร์ที่กองทัพเรือมีได้ทุกแบบ

- ขีดความสามารถทางการแพทย์ มีห้องปฏิบัติการแพทย์ จำนวน ๑๑ ห้อง เป็นห้องผู้ป่วย ๓ ห้อง ส่วนรักษา ๘ ห้อง (ห้อง X-ray ห้องทันตกรรม ห้องศัลยกรรม ห้องตรวจโรค ห้องยา ห้อง LAB ห้องฆ่าเชื้อ และห้องผ่าตัด) ซึ่งสามารถรองรับการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามระดับ ๒ บนเรือได้

“เรือหลวงช้างมีความพร้อม ในการปฏิบัติภารกิจในการป้องกันประเทศ และสามารถออกเรือในการช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยได้ทันทีทุกพื้นที่ เมื่อได้รับสั่งการ สามารถเข้าถึงพื้นที่ปฏิบัติการด้วยความรวดเร็ว และสามารถบูรณาการความช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

รูปภาพเพิ่มเติม

Related Articles

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้