ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานเปิดงานนาวีวิจัย ๒๐๒๔ “นาวีวิจัย ประชาชนภูมิใจ ทะเลไทยมั่นคง”

พลเรือเอก อะดุง พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ เป็นประธานเปิดงานนาวีวิจัย ๒๐๒๔ “นาวีวิจัย ประชาชนภูมิใจ ทะเลไทยมั่นคง” โดยมี พลเรือตรี อนุสรณ์ ยังคุ้มญาติ ผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ให้การต้อนรับ ณ ห้องเจ้าพระยา หอประชุมกองทัพเรือ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๖๗

จากนโยบายผู้บัญชาการทหารเรือ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ ด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของกองทัพเรือ ได้กำหนดให้มีการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการทหารที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของกองทัพเรือและหน่วยงานผู้ใช้ทั้งภายในและภายนอก โดยให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์เป็นหลัก เพื่อนำผลการวิจัยเข้าสู่สายการผลิตและบรรจุใช้ประจำการอย่างจริงจัง ลดการพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ รวมทั้งจัดทำแผนพัฒนาขีดความสามารถ โครงสร้างพื้นฐาน และส่วนสนับสนุนของสำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ในการจัดตั้งศูนย์นวัตกรรมทางเรือและทะเล เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพเรือ ในฐานะที่เป็นหน่วยประสานงานและดำเนินงานโครงการวิจัย จึงได้จัดงาน “นาวีวิจัย ๒๐๒๔” ขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศยกย่องเกียรติคุณนักวิจัย นักประดิษฐ์และคณะทำงาน ที่สร้างผลงานวิจัยและผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นประโยชน์กับกองทัพเรือ เปิดโอกาสให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานวิจัยและถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สังคม รวมทั้งเพื่อเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และการจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ ทั้งของกองทัพเรือ เหล่าทัพ และหน่วยงานวิจัยจากสถาบันต่าง ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้ทราบถึงทิศทางการวิจัยของกองทัพเรือในอนาคต ที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือ และเป็นการส่งเสริมให้ข้าราชการของกองทัพเรือ มีความสนใจการดำเนินการวิจัยกันมากขึ้น อันจะเป็นการนำพาไปสู่การวิจัยเพื่อพึ่งพาตนเองต่อไป

ทั้งนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้กล่าวขอบคุณและแสดงความยินดีกับนักวิจัย นักประดิษฐ์หน่วยงานต่าง ๆ ของกองทัพเรือ รวมถึงผู้ที่ได้รับรางวัลจากความเพียรพยายามในการใช้องค์ความรู้ ประสบการณ์ในการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ที่ได้ร่วมกันผลักดันและพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรทางการวิจัย อีกทั้งยังส่งเสริมโครงการวิจัยที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์กับกองทัพเรือ สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และสร้างความเจริญก้าวหน้าสู้หน่วยงานของกองทัพเรืออย่างต่อเนื่อง หากได้มีการต่อยอด ผลงานเหล่านี้จะเป็นการเพิ่มมูลค่าและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศชาติต่อไป

ซึ่งงานในวันนี้ได้จัดให้มีพิธีมอบรางวัลประกาศยกย่องเกียรติคุณนักวิจัยของกองทัพเรือ ประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๗ โดย ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบรางวัลแก่ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกจำนวน ๒๒ ผลงาน ซึ่งผลงานที่ได้รับรางวัล มีดังนี้

ผลงานวิจัยด้านยุทโธปกรณ์ ได้รับรางวัลดีเด่นทั้ง ๓ ผลงาน ได้แก่
- การสร้างต้นแบบระบบตรวจจับและต่อต้านอากาศยานไร้คนขับ Anti - Unmanned Aerial Vehicle: Anti - UAV โดย นาวาเอก ชุติภาส ช่างเกวียน
- โปรแกรมและเซ็นเซอร์ตรวจจับ เสียง ความดัน และแม่เหล็ก สำหรับทุ่นระเบิด โดย พลเรือตรี อนุสรณ์ ยังคุ้มญาติ
- ทุ่นวิเคราะห์เสียงใต้น้ำ โซโนบุย SONOBUOY โดย พลเรือตรี อนุสรณ์ ยังคุ้มญาติ

ผลงานวิจัยด้านสิ่งประดิษฐ์ ทั้งหมด ๙ ผลงาน ได้รับรางวัลดีเด่น ๓ ผลงาน ได้แก่
- การพัฒนารถเข็นนอนเคลื่อนย้าย 3S STRETCHER โดย เรือเอกหญิง กิติยา บัวล้อมใบ
- ยานพิสูจน์ทราบสารพิษ (เสือดำ ๒) โดย พลเรือตรี ธานินทร์ ทิพย์โส
- เครื่องตรวจจับลมหายใจและชีพจรขณะนอนหลับ โดย ว่าที่เรือเอก วินัย ศิริโชติ

ผลงานวิจัยด้านหลักการ ได้รับรางวัลชมเชย ๑๐ ผลงาน

นอกจากนี้ภายในงานยังมีการจัดแสดงผลงานวิจัยของภาครัฐอื่น ๆ ได้แก่ สำนักงานวิจัยและพัฒนาการทางทหารกองทัพบก (สวพ.ทบ.) ศูนย์วิจัยพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีการบินและอวกาศ (ศวอ.ทอ.) สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ องค์การมหาชน (สทป.) รวมทั้งผลงานวิจัยของภาคเอกชนที่น่าสนใจอีกหลายบริษัท ที่นำมาจัดแสดง เช่น โครงการวิจัยฯ ระบบเฝ้าตรวจและรายงานเคลื่อนที่ (R-SIM) โครงการวิจัยฯ อากาศยานไร้คนขับเพื่อการลาดตระเวนทางทะเลแบบที่ ๒ (Marcus - B) โครงการวิจัยฯ การผลิตและทดสอบใบจักรเรือแมงกานีสอะลูมิเนียมบรอนซ์ เป็นต้น

รูปภาพเพิ่มเติม

Related Articles

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้