ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

เสนาธิการทหารเรือเป็นประธานการประชุมหารือการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก

เสนาธิการทหารเรือเป็นประธานการประชุมหารือการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก

พลเรือเอก เถลิงศักดิ์ ศิริสวัสดิ์ เสนาธิการทหารเรือ ในฐานะเลขาธิการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นประธานการประชุมหารือการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก (Port In Port Out Controlling Center: PIPO) โดยมี พลตำรวจโท สุรเชษฐ์ หักพาล ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ รศ.ดร.ธนพร ศรียางกูร ดร.อดิศร พร้อมเทพ และผู้แทนหน่วยงานหลักที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม ฯ ณ ห้องประชุมกองบัญชาการกองทัพเรือ ชั้น ๖ อาคารส่วนบัญชาการกองทัพเรือ พื้นที่วังนันทอุทยาน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๖๕

  

การประชุมหารือการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออกในครั้งนี้ จะส่งผลให้เกิดการยกระดับการปฏิบัติงานในการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล การแก้ไขการทำประมงผิดกฎหมายฯ (IUU Fishing) และการปราบปรามการค้ามนุษย์ให้ต่อเนื่องและเป็นมาตรฐาน เพื่อให้การรายงานสถานการณ์ด้านการค้ามนุษย์ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ (TIP Report) ในภาคกิจกรรมทางทะเลของไทย จากระดับบัญชี ๒ กลุ่มประเทศเฝ้าระวังหรือ Tier 2 Watch List เป็นระดับบัญชี ๒ หรือ Tier 2 จากการ ประชุมคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ครั้งที่ ๒/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม ๒๕๖๕ รองนายกรัฐมนตรี/ประธานคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติสั่งการให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแนวทางการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO และรายงานผลการปฏิบัติให้คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติทราบ ซึ่งที่ประชุม ฯ ได้กำหนดแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO และร่วมพิจารณาร่างคณะทำงาน ฯ จำนวน ๓ คณะ เพื่อให้แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพ ฯ ดังกล่าวสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งกำหนดแนวทางปรับปรุงการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเพื่อสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพ สรุปรายละเอียดสาระสำคัญ ดังนี้

๑. แนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO

   ๑.๑ การปรับปรุงคู่มือ PIPO Manual ให้มีความทันสมัย 

   ๑.๒ การปรับปรุงหลักเกณฑ์ เงื่อนไขในการสั่งตรวจเรือประมงหน้าท่าเทียบเรือ (Rule base) และหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง (Risk based) 

   ๑.๓ การปรับปรุงค่าเป้าหมาย/ระดับการตรวจเรือประมงหน้าท่าเทียบเรือของชุดสหวิชาชีพตรวจเรือประมงหน้าท่า 

   ๑.๔ การปรับจำนวนชุดสหวิชาชีพตรวจเรือประมงหน้าท่าให้สัมพันธ์และสอดคล้องกับปริมาณ การแจ้งเรือประมงเข้าออกในแต่ละศูนย์ PIPO การเสริมสร้าง/พัฒนา Investigative Mind ให้เจ้าหน้าที่ชุดสหวิชาชีพตรวจเรือประมงหน้าท่าและพนักงานเจ้าหน้าที่ศูนย์ PIPO กรมประมง

   ๑.๕ การปรับปรุงหลักเกณฑ์การตรวจสอบและประเมินผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ชุดสหวิชาชีพประจำศูนย์ PIPO โดยชุด Flying Inspection Team : FIT

๒. ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลจะแต่งตั้งคณะทำงานเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO จำนวน ๓ คณะ

   ๒.๑ คณะทำงานพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ควบคุมการแจ้งเรือเข้าออก โดยสั่งการให้ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นหัวหน้าคณะทำงาน กรมประมงเป็นรองคณะทำงานศูนย์ยุทธการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นเลขานุการ กรมประมงเป็นผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ ๑ และ สำนักนโยบายและแผน ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ ๒

   ๒.๒ คณะทำงานปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานศูนย์ PIPO (PIPO Manual) โดยมีศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นหัวหน้าคณะทำงาน กรมประมงเป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน สำนักนโยบายและแผน ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเป็นเลขานุการ กรมประมงเป็นผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ ๑ และ ศูนย์ยุทธการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ ๒

   ๒.๓ คณะทำงานปรับปรุงหลักเกณฑ์การสั่งตรวจเรือประมงหน้าท่าเทียบเรือ (Rule based) และหลักเกณฑ์การประเมินความเสี่ยง (Risk based) โดยมี กรมประมงเป็นหัวหน้าคณะทำงาน ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน กรมประมงเป็นเลขานุการ ศูนยย์ยุทธการ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ ๑ และสำนักนโยบายและแผน ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เป็นผู้ช่วยเลขานุการ คนที่ ๒

๓. แนวทางการปรับปรุงการปฏิบัติงานของศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO โดยจะดำเนินการในสองส่วน คือ การจัดเจ้าหน้าที่ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลเข้าช่วยเหลือในการยกระดับเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO และยกระดับการประเมินผลการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO ให้ได้มาตรฐาน โดยการปรับ ปรุงโครงสร้างการปฏิบัติงานของชุด Flying Inspection Team : FIT เพื่อให้เกิดผลผลิตอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้

   ๓.๑ เพื่อให้การควบคุม กำกับดูแล การปฏิบัติงานศูนย์ PIPO ให้กลับมามีประสิทธิภาพได้โดยเร็ว

   ๓.๒  มีการพิจารณา กำหนดมาตรการ ควบคุม กำกับ ดูแล ทบทวน ปรับปรุงการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO ให้คงไว้ซึ่งประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานครบทุกมิติ ทั้งองค์บุคคล องค์วัตถุ และองค์ยุทธวิธี

   ๓.๓ มีกรอบการพัฒนากลไกในการกำกับ ดูแล ควบคุมการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO ในทุก ระดับ 

   ๓.๔ มีการกระจายกลไกการควบคุม กำกับ ดูแลการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO ให้สามารถกำกับ ดูแล การปฏิบัติงานได้ทั่วถึงและรวดเร็ว รวมทั้ง ถูกตรวจสอบ/ประเมินผลการปฏิบัติมากขึ้น

   ๓.๕ สร้างการมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของศูนย์ PIPO ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้