ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานภายในพระราชวังเดิม ร่วมกับ กองทัพเรือ เปิดพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี ให้ประชาชนเข้าถวายสักการะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมทั้งเยี่ยมชมโบราณสถานภายใน พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานภายในพระราชวังเดิม ร่วมกับ กองทัพเรือ เปิดพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี ให้ประชาชนเข้าถวายสักการะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมทั้งเยี่ยมชมโบราณสถานภายใน พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

มูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานภายในพระราชวังเดิม ร่วมกับ กองทัพเรือ เปิดพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี ให้ประชาชนเข้าถวายสักการะสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พร้อมทั้ง เยี่ยมชมโบราณสถานภายใน พระราชวังเดิม กรุงธนบุรี เป็นกรณีพิเศษ ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๕.๓๐ น. โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย พร้อมทั้งมีการจำหน่ายวัตถุมงคล อาทิ หนังสือพระราชประวัติ /เหรียญสมเด็จพระเจ้าตากสิน  เสื้อ ฯลฯ
 
   สำหรับโบราณสถานภายในพระราชวังเดิม ประกอบไปด้วย
 
    ๑. อาคารท้องพระโรง  เป็นอาคารประธานของพระราชวังเดิม มีลักษณะเป็นอาคารทรงไทย ตรีมุข  วัสดุมุงหลังคาเป็นกระเบื้องดินเผาสีส้มชนิดหางเหลี่ยมไม่เคลือบสี ด้านจั่วประดับด้วยช่อฟ้า ใบระกา  หางหงส์และนาคสะดุ้ง  สร้างขึ้นในราวปี พุทธศักราช ๒๓๑๐  พร้อมกับการสถาปนากรุงธนบุรีเป็นราชธานี  อาคารท้องพระโรงประกอบไปด้วย พระที่นั่งสององค์เชื่อมต่อกัน คือ พระที่นั่งองค์ทิศเหนือ เรียกว่าท้องพระโรง ใช้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ขณะเสด็จออกว่าราชการ  ส่วนพระที่นั่งองค์ทิศใต้ที่อยู่ติดกับพระที่นั่งองค์แรก เรียกกันว่าพระที่นั่งขวาง  เป็นส่วนราชมณเฑียร  หรือพระราชฐานชั้นกลางอันเป็นที่ประทับส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์
 
    ๒. อาคารตำหนักเก๋งคู่หลังใหญ่  สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์  ในระหว่างปี พุทธศักราช  ๒๓๖๗ – ๒๓๙๔  โดยมีพระดำริให้สร้างขึ้นพร้อมกับการปรับปรุงอาคารตำหนักเก๋งคู่หลังเล็กที่มีมาแต่เดิม มีลักษณะเป็นสถาปัตยกรรมผสมผสานระหว่าง ไทยกับจีน หลังคาทรงจั่วแบบจีน ภายในอาคารมีพระทวารและพระแกลแบบไทย ส่วนหลังคามีการเขียนลวดลายจีนแบบปูนเปียก บริเวณหน้าจั่วและคอสองโดยรอบอาคาร สำหรับบริเวณกรอบเช็ดหน้า มีการจำหลักลวดลายเป็นรูปฐานสิงห์ อันเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกฐานานุศักดิ์ของอาคารที่ใช้เป็นที่ประทับของเจ้านายเท่านั้น
 
    ๓. อาคารเก๋งคู่หลังเล็ก  สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ช่วงรัชกาลที่ ๑ - ๒ เนื่องจากรากฐานของอาคารอยู่ในระดับชั้นดินของยุคดังกล่าว  รูปแบบของอาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบจีน แต่ได้มีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงประตูหน้าต่างให้เข้ากับสภาพอากาศในสมัยหลัง
 
    ๔. อาคารตำหนักเก๋งสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงดำรงพระอิศริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ราวปี พุทธศักราช ๒๓๖๗ - ๒๓๙๔  ลักษณะอาคารเป็นสถาปัตยกรรมรูปแบบตะวันตกหรือเรียกว่าตึกแบบอเมริกัน และหากพิจารณาทางด้านประวีติศาสตร์สถาปัตยกรรมอาจถือได้ว่าอาคารนี้เป็นตำหนักแบบตะวันตกหลังแรกที่สร้างขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ โดยอาจเป็นตึกก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น หลังคาทรงปั้นหยา มีหน้าจั่วปีกนก ๒ ด้าน  ส่วนประกอบต่าง ๆ ของอาคารที่เป็นไม้ ทาด้วยสีเขียวแก่ทั้งหมด อันเป็นสีที่นิยมใช้สำหรับตำหนักหรืออาคารในสมัยนั้น
 
    ๕. ศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช  ที่เห็นในปัจจุบันสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เมื่อครั้งสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จมาประทับ ณ พระราชวังเดิมราวปี พุทธศักราช ๒๔๒๔ - ๒๔๔๓ ได้มีพระดำริให้สร้างแทนศาลหลังเดิมที่ชำรุดทรุดโทรม
 
    ๖. ศาลศีรษะปลาวาฬ  ในระหว่างการขุดพื้นที่ระหว่างศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและพระตำหนักเก๋งคู่ ได้พบฐานอาคารทรงสี่เหลี่ยม ซึ่งจากการศึกษาหลักฐานทางโบราณคดี คาดว่าน่าจะเป็นอาคารศาลศีรษะปลาวาฬหลังเดิม ที่ภายในมีประดูกปลาวาฬ โดยศาลหลังนี้ได้พังทลายในวันเดียวกับที่ สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี  กรมพระจักรพรรดิพงศ์ สิ้นพระชนม์ แล้วไม่ได้มีการสร้างขึ้นมาใหม่ จึงได้มีการสร้างขึ้นทดแทนมาในภายหลัง
 
    โบราณสถานภายในพระราชวังเดิม เปิดให้ผู้สนใจเข้ามาเยี่ยมชมได้ศึกษาหาความรู้ทางด้านโบราณคดีและประวัติศาสตร์ในยุคกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งการเดินทางหากใช้บริการขนส่งสาธารณะ แนะนำให้ลงเรือด่วนเจ้าพระยา ขึ้นท่าวัดอรุณ หากขับรถมาเองจากพาต้า เลี้ยวขวามาเส้นทางโรงพยาบาลศิริราช เข้าถนนอรุณอมรินทร์ จนผ่านวัดระฆัง อู่ทหารเรือธนบุรี จนถึงหอประชุมกองทัพเรือ ให้เลี้ยวซ้ายซอยข้างหอประชุมกองทัพเรือ พร้อมตรงมาเรื่อย ๆ  และสังเกตป้ายกองบัญชาการกองทัพเรือที่อยู่ติดกับวัดอรุณฯ เมื่อเลี้ยวเข้ามาสามารถแลกบัตรที่กองรักษาการณ์ สำหรับช่วงนี้สามารถเข้าชมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่หากมาหลังจากนี้จะต้องเข้าเที่ยวชมเป็นหมู่คณะ และทำหนังสือขออนุญาตล่วงหน้า ๑ - ๒ สัปดาห์ มีค่าธรรมเนียมบำรุงโบราณสถานภายพระราชวังเดิม ในราคา ผู้ใหญ่ ๑๐๐.- และ เด็ก ๖๐.- บาท
 
  
 
  
 
  
 
  

บทความที่เกี่ยวข้อง

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้