ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

ผู้บัญชาการทหารเรือเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖

พลเรือเอก เชิงชาย ชมเชิงแพทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ ในฐานะรองผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (รอง ผอ.ศรชล.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล (ศรชล.) ครั้งที่ ๒/๒๕๖๖ ร่วมด้วย พลเรือเอก ชลธิศ นาวานุเคราะห์ เสนาธิการทหารเรือ/เลขาธิการ ศรชล. คณะกรรมการบริหาร ศรชล. ผู้แทนหน่วยงานหลัก ๗ หน่วย ใน ศรชล. ประกอบด้วย กองทัพเรือ กรมเจ้าท่า กรมประมง กรมศุลกากร กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กองบังคับการตำรวจน้ำ และ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เข้าร่วมประชุม ณ โรงแรมลากูน่า แกรนด์ โฮเทล แอนด์ สปา อำเภอเมืองสงขลา จังหวัดสงขลา เมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๕๖๖

สำหรับการประชุม ศรชล. สัญจรครั้งนี้ จัดขึ้นเป็นครั้งที่ ๒ ของปี ๒๕๖๖ โดยจัดในพื้นที่ ศรชล.ภาค ๒ ซึ่งที่ประชุมได้หารืออย่างกว้างขวางในหลายวาระ ปรากฎสาระสำคัญสรุปนำเสนอดังนี้

ศรชล. ดำเนินการนำนโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคงแห่งชาติ (ปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐) ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ซึ่งกำหนดไว้ใน นโยบายและแผนความมั่นคงที่ ๔ การรักษาความมั่นคงและผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ที่มี ศรชล. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลัก มาเป็นกรอบในการจัดทำแผนงานและแผนงบประมาณของหน่วยงานเพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานภายใต้นโยบายและแผน ฯ รวมทั้งขับเคลื่อนการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของนโยบายและแผนความมั่นคง ทั้ง ๑๗ ด้าน มากำหนดแผนงาน/โครงการ/งบประมาณให้บรรลุเป้าหมาย ผลสัมฤทธิ์และตัวชี้วัด ตามวิสัยทัศน์ “ประเทศชาติมีเสถียรภาพ ประชาชนอยู่ดีมีสุข ปลอดภัยจากภัยคุกคามทุกรูปแบบ มีศักยภาพบริหารจัดการความมั่นคงแบบองค์รวม และรักษาไว้ ซึ่งผลประโยชน์แห่งชาติอย่างยั่งยืน”

ศรชล. โดย กรมประมง เห็นสมควรควบรวมสาระสำคัญพร้อมทั้งแนวทางการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายในทะเลสาบสงขลา ปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ ไว้ใน (ร่าง) นโยบายและแผนบริหารจัดการประมง ปีพุทธศักราช ๒๕๖๖ - ๒๕๗๐ เพื่อให้ครอบคลุมประเด็นสาระสำคัญของการพัฒนาประมงทั้งระบบ อย่างครบถ้วน และสรุปรายงานเสนอต่อ คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ ให้ความเห็นชอบ และเสนอให้ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) นำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

ในช่วง ๕ ปีที่ผ่านมา ศรชล. ตรวจสอบพบการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมาย มีการใช้เครื่องมือประมง ที่ทำลายล้างและผิดกฎหมาย ในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาเป็นจำนวนมาก เช่น การใช้อวนรุน การใช้สารพิษเบื่อปลา การใช้ไฟฟ้าช๊อตปลา ลอบพับ อีกทั้งมีการติดตั้งเครื่องมือประมงประจำที่ประเภทโพงพาง ไซนั่ง อย่างหนาแน่น ส่งผลให้ปริมาณและชนิดของสัตว์น้ำในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาลดลงอย่างมาก กีดขวางทางน้ำ และทำให้ทะเลสาบตื้นเขินเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งเครื่องมือประมงในบริเวณที่ไม่อนุญาต เช่น เขตร่องน้ำการเดินเรือ ทำให้การจราจรทางน้ำ ในการเดินเรือเข้าออกประสบปัญหา ฯลฯ จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทั้งระบบ

นอกจากนี้ที่ประชุม ยังมีการหารือถึงแนวทางการปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมาน และการกระทำให้บุคคลสูญหาย ปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ โดย กรมคุมครองสิทธิและเสรีภาพ ได้มีหนังสือแจ้งแนวทางการปฏิบัติที่ส่งผลกระทบให้หน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย รวมถึง ศรชล. ต้องดำเนินการบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับและควบคุม จนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัว อย่างไรก็ดี เมื่อช่วงต้นเดือนมิถุนายน ๒๕๖๖ ทาง สำนักสืบสวนสอบสวนและกฎหมาย ศรชล. ได้เชิญวิทยากรจาก กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มาบรรยายและให้ข้อเสนอแนะกับหน่วยงานต่างๆ ใน ศรชล. เพื่อให้เกิดผลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นรูปธรรม และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน

ทั้งนี้ ศรชล. นับเป็นหน่วยงานหลักในการบูรณาการการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเลที่ได้รับการยอมรับในระดับภูมิภาค เพื่อความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนของประเทศชาติและประชาชน”

รูปภาพเพิ่มเติม

Related Articles

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้