ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

ผู้บัญชาการทหารเรือตรวจเยี่ยมการฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๘ ณ ค่ายจุฬาภรณ์ จังหวัดนราธิวาส

พลเรือเอก จิรพล  ว่องวิทย์ ผู้บัญชาการทหารเรือ เดินทางไปตรวจเยี่ยมการฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก การฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๘ โดยมีผู้บังคับบัญชาระดับสูงของกองทัพเรือ และผู้บังคับบัญชาในกองอำนวยการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๘ ให้การต้อนรับ ณ หาดบ้านทอน ตำบลโคกเคียน อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน ๒๕๖๘

ในโอกาสนี้ ผู้บัญชาการทหารเรือ ได้มอบโอวาทให้กับกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึก และชมการสาธิตการปฏิบัติการทางทหาร ซึ่งมีการประกอบกำลังจากหน่วยกำลังรบและหน่วยสนับสนุนต่าง ๆ ในกองทัพเรือ มาเข้าร่วมการปฏิบัติการสาธิต ฯ

การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบกในวันนี้ เป็นการปฏิบัติการต่อต้านกำลังรบยกพลขึ้นบก กำลังปฏิบัติการพิเศษ และอาวุธจากเรือผิวน้ำและอากาศยาน โดยจะมีการสาธิตของหน่วยกำลังรบยกพลขึ้นบกนาวิกโยธิน ซึ่งประกอบกำลังจากกรมทหารราบที่ ๒ กองพลนาวิกโยธิน เป็นส่วนควบคุมการฝึก กองพันทหารรราบที่ ๕ กรมทหารราบที่ ๒ เป็นกองพันยกพลขึ้นบก สนับสนุนด้วยส่วนต่าง ๆ คือ กองพันรถสะเทินน้ำสะเทินบก กองพันรถถัง กองพันทหารช่าง กองพันลาดตระเวน กองร้อยสนับสนุนการยกพลขึ้นบก กรมสนับสนุน กองพลนาวิกโยธิน ร่วมด้วยกำลังทางเรือจากกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ และอากาศยานจาก กองการบินทหารเรือ กองเรือยุทธการ

โดยลำดับเหตุการณ์ที่สำคัญ ประกอบด้วย

- การแทรกซึมทางน้ำ เข้าสู่พื้นที่ด้วยเรือยางของชุดปฏิบัติการพิเศษ โดยกำลังพลนักทำลายใต้น้ำจู่โจม หน่วยสงครามพิเศษทางเรือ กองเรือยุทธการ เข้าทำลายสิ่งกีดขวางหน้าหาด เพื่อสร้างช่องทางในการเคลื่อนที่จากเรือสู่ฝั่ง ให้กับกำลังรบยกพลขึ้นบก

- การขัดขวางทางอากาศในพื้นที่การรบ (BAI : Battlefield Ari Interdiction) โจมตีต่อเป้าหมายที่สำคัญบนฝั่งด้วยกำลังทางอากาศ 

- การระดมยิงฝั่งด้วยปืนเรือ ในกองเรือเฉพาะกิจสะเทินน้ำสะเทินบก จากเรือหลวงทยานชล เพื่อทำลายสิ่งกีดขวาง ที่ตั้ง และการวางกำลังข้าศึก  

- การระดมยิงฝั่งด้วย ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN-16  เพื่อทำลายสิ่งกีดขวาง ที่ตั้ง และการวางกำลังของข้าศึก  

- การเคลื่อนที่จากเรือสู่ฝั่ง ของกำลังรบยกพลขึ้นบก 
    คลื่นที่ ๑ ประกอบด้วย ยานเกราะโจมตีสะเทินน้ำสะเทินบก VN-16 จำนวน ๑ ลำ และรถสะเทินน้ำสะเทินบกแบบ AAV จำนวน ๓ ลำ พร้อมกำลังรบยกพลขึ้นบก 
   คลื่นที่ ๒ ประกอบด้วย รถหุ้มเกราะล้อยาง 8x8 ชนิดลำเลียงพล AWAV จำนวน ๔ คัน พร้อมกำลังรบยกพลขึ้นบก 
     คลื่นที่ ๓ เป็นคลื่นโจมตีทางอากาศ ประกอบด้วย เฮลิคอปเตอร์ลำเลียงพล จำนวน ๒ ลำ พร้อมกำลังรบของ กองพันลาดตระเวน กองพลนาวิกโยธิน ปฏิบัติการยุทธ์เคลื่อนที่ทางอากาศ Fast Rope เข้ายึดที่หมาย  

- การขอรับการสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด สนับสนุนกำลังรบยกพลขึ้นบก เพื่อทำลายที่ตั้งและการวางกำลังของข้าศึก

- การปฏิบัติของคลื่น ตามคำขอของหน่วยสนับสนุนกำลังพลยกพลขึ้นบก ด้วยเรือลำเลียง จากเรือหลวงมันใน (LCU) และเรือลำเลียงพลขนาดกลาง (LCM) เพื่อลำเลียงอาวุธยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ ขึ้นฝั่ง ประกอบด้วย รถฮัมวี่ (HMWWVw) ติดตั้งอาวุธต่อสู้รถถังนำวิถีโทว์ (TOW) จำนวน ๑ คัน ยานเกราะล้อยาง (First win 4x4) จำนวน ๑ คัน และรถตักหน้าขุดหลังเจซีบี (JCB) จำนวน ๑ คัน

- การปฏิบัติสุดท้ายของวันนี้ เป็นการส่งกลับทางสายแพทย์ (Medivac) ด้วยเฮลิคอปเตอร์

การฝึกปฏิบัติการยุทธ์สะเทินน้ำสะเทินบก เป็นส่วนหนึ่งของการฝึกภาคสนาม/ทะเล ในการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๘ ซึ่งเป็นการฝึกที่มีความสำคัญสูงสุดของกองทัพเรือ โดยใช้แนวความคิดในการฝึกว่า “รบอย่างไร ฝึกอย่างนั้น”

นอกจากการฝึกที่เกิดขึ้นในวันนี้แล้ว จะมีการฝึกที่สำคัญอื่น ๆ อาทิ การฝึกยิงอาวุธปล่อยนำวิถีป้องกันภัยทางอากาศแบบ Mistral ของเรือหลวงจักรีนฤเบศร การฝึกปฏิบัติการร่วมระหว่างกองทัพเรือและกองทัพอากาศ การฝึกต่อต้านการก่อการร้ายบนแท่นผลิตก๊าซธรรมชาติ การฝึกให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและบรรเทาภัยพิบัติ (HADR) การค้นหาและช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเล (SAR) และการขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ในทะเล (Oil and chemical spill) การฝึกเป็นหน่วยกรมผสมนาวิกโยธิน และการดำเนินกลยุทธ์ด้วยกระสุนจริง (CALFEX) การฝึกของหน่วยวิชาการต่อสู้อากาศยานและรักษาฝั่งประจำพื้นที่ และการฝึกยิงอาวุธทางยุทธวิธี โดยมีการเชิญกำลังพลจากกองทัพบก กองทัพอากาศ รวมถึงศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล เข้าร่วมการฝึกในครั้งนี้

ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการฝึกกองทัพเรือ ประจำปี ๒๕๖๘ นั้น นอกจากกำลังพลที่เข้าร่วมการฝึกจะได้รับความรู้ ความชำนาญเพิ่มขึ้นจากการฝึกแล้ว ยังทำให้กองทัพเรือได้รับทราบถึงขีดความสามารถและข้อจำกัดของกำลังทางเรือที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งการปฏิบัติการร่วมกันกับ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล และเหล่าทัพ เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาขีดความสามารถสำหรับการปฏิบัติภารกิจ โดยเฉพาะในการป้องกันประเทศให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยขีดความสามารถของกำลังทางเรือที่เตรียมไว้สำหรับการทำสงคราม ยังสามารถนำมาใช้ในการรักษาผลประโยชน์ของชาติ การช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ประสบภัยพิบัติต่าง ๆ ในยามปกติได้อีกด้วย

รูปภาพเพิ่มเติม

Related Articles

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้