พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๕ แห่งพระบรม ราชจักรีวงศ์ พระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ฯ เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี พระราชสมภพ เมื่อ วันอังคารที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๙๖ มีพระขนิษฐา และพระอนุชาร่วมสมเด็จพระบรมราชนี ๓ พระองค์ คือ
๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจันทรมณฑล โสภณภควดี กรมหลวง วิสุทธิกษัตริย์
๒. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ๆต้นราชสกุลจักรพันธุ์
๓. จอมพลสมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ต้นราชสกุลภาณุพันธุ์
เมื่อยังทรงพระเยาว์พระองค์ทรงศึกษา ในสำนักพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุตรีกรมหลวงวรเสรฐสุดา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเป็นขัตติยราชนารี ผู้ทรงรอบรู้ด้านอักษรศาสตร์และโบราณราชประเพณีอย่างดียิ่ง นอกจากนั้นทรงศึกษาภาษามคธ กับพระยาปริยัติธรรมธาดา (เนียม) เมื่อเป็นหลวงราชาภิรมย์ กรมราชบัณฑิตทรศึกษา วิชาการยิง ปืนไฟ จากสำนัก พระยา อภัยศรเพลิง(ศรี) วิชาคชกรรม กับสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ และวิชาการอื่น ๆ อันสมควร แก่บรมราชกุมาร ส่วนภาษาอังกฤษทรงศึกษาจากชาวต่างประเทศโดยตรง คือ นางแอนนา เลียวโนเวนส์ หมอจันดเล และ นายแปตเตอร์สัน จนกระทั่ง มีพระราชกิจมากขึ้นไ ม่อาจศึกษากับพระอาจารย์ได้ก็ได้ทรงพระอุตสาหะศึกษาด้วยพระองค์เองจนทรงมีความรู้ภาษาอังกฤษแตกฉาน ส่วนในด้านวิชาการ รัฐศาสตร์ ราชประเพณี และ โบราณคดีนั้นสมเด็จพระบรมชนกนาถเป็นผู้พระราชทานการฝึกสอนตลอดมา
ปีพุทธศักราช ๒๔๐๔ ทรงได้รับการสถาปนาเป็นกรมหมื่นพิฆเณศวร สุรลังกาศ แล้วทรงผนวชเป็นสามเณช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๙ หลังจาก ลาผนวชแล้ว ประทับ ณ พระตำหนักสวนกุหลาบ ในพระบรมมหาราชวัง ระหว่างนี้สมเด็จพระบรมชนกนาถทรงกวดขันดูแลในเรื่องราชการแผ่นดินมากขึ้น โปรดเกล้าฯ ให้เฝ้าปฏิบัติประจำพระองค์นอกเหนือจากเวลาเฝ้าตามปรกติ เพื่อทรงรับฟังพระบรมราโชวาทและพระบรม ราชาธิบายในเรื่องราชการและราชประเพณีต่างๆ อยู่เสมอต่อมาปี พุทธศักราช ๒๔๑๐ เมื่อเลื่อนพระอิสริยยศเป็นกรมขุน และเปลี่ยนพระนามกรม เป็นกรมขุนพินิตประชานาถแล้วทรงรับหน้าที่ ในการบังคับบัญชากรม มหาดเล็ก กรมทหารบก วังหน้า กรมล้อม พระราชวัง และ กรมพระคลัง มหาสมบัติ
หลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ ที่ประชุมเสนาบดีและพระบรมวงศานุวงศ์ พร้อมใจกันอัญเชิญสมเด็จเจ้าฟ้าชายจุฬาลงกรณ์ฯ ขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติ มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ แต่เนื่องจากขณะนั้นพระองค์ยังไม่บรรลุพระราชนิติภาวะ สมเด็จเจ้าพระยามหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ขณะนั้น มีบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาศรีสุรยวงศ์ จึงรับหน้าที่เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน จนกระทั่งทรงบรรลุพระราชนิติภาวะแล้วทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เป็นเวลา ๒ สัปดาห์ แล้วจึงมีพิธีบรมราชาภิเษกอีกครั้ง เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดินซึ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่าง ๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์ แก่ประเทศชาติอย่างอเนกอนันต์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่เปี่ยมด้วยความสุขุมคัมภีรภาพ ทรงนำประเทศชาติให้รอดพ้นวิกฤตการณ์และสามารถธำรง เอกราชไว้ได้
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้