ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

กองเรือทุ่นระเบิด

ประวัติ

               จากหลักฐานอันเก่าแก่เกี่ยวกับทุ่นระเบิดแห่งราชนาวีไทยนั้นนับย้อนกลับหลังไปในช่วง ร.ศ.๑๒๒ ปี พ.ศ.๒๔๔๖ (ร.ศ.๑๒๒) กำหนดให้มีกองทุ่นระเบิดขึ้นตรงกับกองบัญชาการเรือแลป้อมมีหน้าที่ในการจัดหาทุ่นระเบิดและวางสายทุ่นระเบิด มีการทำงานคล้ายกับกรมสรรพาวุธ มากกว่าหน่วยเรือทุ่นระเบิด

               ปี พ.ศ.๒๔๘๑ ได้มีการปรับปรุงกองเรือรบใหม่โดยมีหมวดเรือทุ่นระเบิด ซึ่งขึ้นตรงกับกองเรือ มีเรือในสังกัด ๒ ลำ

               คือเรือหลวงบางระจัน และเรือหลวงหนองสาหร่ายต่อจากประเทศอิตาลี ขึ้นระวางประจำการเมื่อ ๕ ต.ค.๒๔๘๑ และปลดระวางประจำการเมื่อ ๗ ก.ค.๒๕๒๓ รวมเวลาในการรับใช้ราชการมานานกว่า ๗๐ ปี

               ปี พ.ศ.๒๔๘๕ ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ ประเทศสหรัฐอเมริกาได้ส่งเรือดำน้ำเข้ามาวางทุ่นระเบิด บริเวณเกาะริ้นเป็นเหตุให้เรือซิดนีย์มารูของญี่ปุ่น ซึ่งเป็นฝ่ายเดียวกับไทยในเวลานั้นถูกแรงระเบิดของทุ่นระเบิดเสียหายอย่างหนัก จึงต้องนำเรือไปเกยตื้น ทัพเรือ (อันเป็นชื่อหน่วยสนามของราชนาวีไทย ในขณะนั้น) ได้จัด ร.,.จวง (ลำเก่า) ร่วมกับเรือประมงจำนวนหนึ่ง ออกทำการกวาดทุ่นระเบิด โดยใช้แท่งแม่เหล็กถาวรลากด้วยสายลวดยาวประมาณ ๒๐๐ เมตร ทำการกวาดทุ่นระเบิดในครั้งนั้น นับว่าได้ผล พอสมควรเพราะหลังจากการกวาดทุ่นระเบิดแล้วไม่ปรากฏว่ามีเรือลำใดโดนทุ่นระเบิดอีกเลย โดยในการปฏิบัติการในครั้งนั้นกองทัพเรือไทยได้ลงคำสั่งยุทะการให้หมู่เรือกวาดทุ่นระเบิดออกปฏิบัติราชการในช่วง ระหว่างวันที่ ๒๒ ธ.ค. ๒๔๘๕ ถึง ๒๒ ม.ค.๒๔๘๖ นับเป็นการออกปฏิบัติราชการกวาดทุ่นระเบิดในทะเล ครั้งแรกที่มีการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ดังนั้นจึงได้กำหนดเอาวันที่ ๒๒ ธ.ค.๒๔๘๕ เป็นวันสถาปนากองเรือทุ่นระเบิด

               ๒๕ ม.ค.๒๔๘๗ จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พันธมิตรได้นำเครื่องบินมาวางทุ่นระเบิดในแม่น้ำเจ้าพระยา ทัพเรือ (ในสมัยนั้น) จึงตั้งกองกวาดทุ่นระเบิดในแม่น้ำขึ้นเมื่อ ๒๕ ม.ค.๒๔๘๗ โดยมีภารกิจในการกวาดทุ่นระเบิดในแม่น้ำ

               ๑๕ ก.พ.๒๔๘๘ ทัพเรือ (ในสมัยนั้น) ได้จัดตั้งกองกวาดทุ่นระเบิดแม่เหล็กขึ้นมาใหม่และยกเลิกกองกวาดทุ่นระเบิดแม่น้ำ โดยเพิ่มงานวางเครื่องหมายทางเรือและจัดยามคอยเหตุขึ้นมารวมทั้งทำการกวาดทุ่นระเบิดนำหน้าเรือหลวงเวลาแล่นออกทะเล

               พ.ศ.๒๔๙๐ ถึง พ.ศ.๒๔๙๒ กองทัพเรือได้จัดหาเรือกวาดทุ่นระเบิดใช้แล้ว จากประเทศสหรับอเมริกาและอังกฤษรวม ๔ ลำ เพื่อทำการกวาดทุ่นระเบิดของพันธมิตรในน่านน้ำไทย ประกอบด้วยเรือกวาดทุ่นระเบิด ชั้น YMS ของสหรัฐนาวี จำนวน ๓ ลำ ได้แก่ ร.ล.ท่าดินอดง, ร.ล.ลาดหญ้า และ ร.ล.บางแก้ว สำหรับ ร.ล.โพสามต้น ได้รับมอบจากราชนาวีอังกฤษ

               ๒๙ มิ.ย.๒๔๙๔ ชื่อของกองเรือทุ่นระเบิดได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกเมือ่มีการปรับปรุงกองทัพเรือ หลังจากกรณีกบฏแมนฮัทตั้น โดยกองเรือรบถูกยุบไปพร้อมกับการย้ายจากกรุงเทพฯ ไปอยู่สัตหีบในชื่อใหม่ว่า “กองเรือยุทธการ” ประกอบด้วย ๕ หน่วย คือ กองเรือตรวจอ่าว, กองเรือปราบเรือดำน้ำ, กองเรือทุ่นระเบิด,กองเรือบริการ และ กองเรือสำรอง

               ๑ ม.ค.๒๔๙๖ กองบังคับการกองเรือทุ่นระเบิด มีที่ตั้งหน่วยเป็นครั้งแรกอยู่บน ร.ล.รางเกวียน โดยมี พลเรือตรี วิเชียร  พันธุ์โภคา เป็นผู้บังคับการกองเรือทุ่นระเบิด ตั้งแต่ ๑ ม.ค.๒๔๙๖ ถึง ๒๐ พ.ค.๒๕๑๓ และ พล.ร.ต.พอน  พันธ์ทรัพย์ เป็นผู้บังคับการ กองเรือทุ่นระเบิด คนสุดท้าย (โดย ร.ล.รางเกวียน ออกปฏิบัติราชการทะเลก็ย้ายกองบังคับการไปอยู่เรือลำอื่น)

               ๒๑ พ.ค.๒๕๑๓ กองบังคับการกองเรือทุ่นระเบิดย้ายไปอยู่ที่ ราชนาวิกสภา (จากเดิมกองบังคับการ กองเรือทุ่นระเบิด อยู่บน ร.ล.รางเกวียน) โดยมี พลเรือตรี สว่าง ขันธ์นะภา เป็นผู้บังคับการกองเรือทุ่นระเบิด ตั้งแต่ ๒๑ พ.ค.๒๕๑๓ – ๑๘ พ.ค.๒๕๑๖

               ๑๙ พ.ค.๒๕๑๖ กองบังคับการกองเรือทุ่นระเบิด ได้ย้ายไปอยู่ที่บางนา (บก.สี่กองเรือเดิม) ตั้งแต่ ๑๙ พ.ค.๒๕๑๖ จนถึงปัจจุบัน

               ๓๐ ก.ย.๒๕๒๙ โดยมี พลเรือตรี ทวิช  บุณยรัตพันธุ์ เป็นผู้บังคับการกองเรือทุ่นระเบิด คนแรก และ พลเรือตรี พิชิต  ชวนะเสน เป็นผู้บังคับการกองเรือทุ่นระเบิด คนสุดท้าย

               ๑ ต.ค.๒๕๒๙ กองบังคับการกองเรือทุ่นระเบิด ได้ย้ายไปอยู่ที่ ๕๗ ม.๕ ถนนสุขสวัสดิ์ ต.แหลมฟ้าผ่า อ.พระสมุทรเจดีย์ จว.สมุทรปราการ โดยมี พลเรือตรี ศิริ ทองวิบูลย์ เป็นผู้บังคับการกองเรือทุ่นระเบิดคนแรก

               ต่อมาเมื่อ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๓๓ ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “กองบังคับการกองเรือทุ่นระเบิด” เป็น กองบัญชาการกองเรือทุ่นระเบิด” ในสมัย พลเรือตรี สุวิทย์  วัฒนกุล เป็นผู้บัญชาการ จนถึงปัจจุบัน

กองเรือทุ่นระเบิด ประกอบด้วย
หมวดเรือที่ ๑  เรือหลวงบางแก้ว, เรือหลวงดอนเจดีย์

หมวดเรือที่ ๒  เรือหลวงบางระจัน, เรือหลวงหนองสาหร่าย, เรือหลวงลาดหญ้า, เรือหลวงท่าดินแดง

หมวดเรือที่ ๓  เรือหลวงถลาง, เรือ ท.๑ - ท.๑๒

รูปภาพเพิ่มเติม

Related Articles

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้