ค้นหา
ปกติ
ขาวดำ
ดำเหลือง
ขนาดตัวอักษร

กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ

ประวัติกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ

     ในวันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ นับเป็นอีกวาระหนึ่งที่เวียนมาบรรจบครบรอบวันคล้ายวันสถาปนา   กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ ตั้งแต่กองทัพเรือ ได้อนุมัติให้วันนี้เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ โดยย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ในอดีตเมื่อวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีกุน นพศก จุลศักราช ๑๑๒๙ ตรงกับวันที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๓๑๐ ในวันนั้นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงนำกำลังทหารเดินทางมาทางเรือ  จากเมืองจันทบุรีเข้าสู่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา โดยพระองค์นำทัพมาขึ้นบกและเข้าโจมตีฝ่ายพม่าที่ค่ายโพสามต้น  ซึ่งเป็นค่าย บัญชาการรบของพม่า ทัพพม่าไม่สามารถต้านทานได้ และแตกพ่ายไปในที่สุด สืบมาจากวีรกรรมที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงยกทัพเรือไปโจมตีข้าศึกจากทางทะเลดังกล่าว ถือเป็นการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบกครั้งแรกของกองทัพเรือไทย กองทัพเรือจึงได้อนุมัติให้วันที่ ๖ พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนากองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ กองเรือยุทธการ สืบมา

     ประวัติความเป็นมา

     กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ ได้รับการสถาปนาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๙๖ แต่เดิมนั้นได้ใช้ชื่อว่า “ กองเรือบริการ ” เป็นหน่วยขึ้นตรงกองเรือยุทธการ โดยในขณะนั้น กองทัพเรือได้รับอนุมัติจากกระทรวงกลาโหม  ให้มีการจัดหน่วยของกองเรือยุทธการใหม่ โดยแบ่งเป็น ๔ กองเรือ ประกอบด้วย กองเรือตรวจอ่าว กองเรือปราบเรือดำน้ำ กองเรือทุ่นระเบิด และกองเรือบริการ ภายหลังจากการก่อตั้งกองเรือบริการแล้ว กองทัพเรือได้รับเรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ เรือยกพลขึ้นบกขนาดกลาง เรือสนับสนุนยกพลขึ้นบก เพิ่มเติมจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้ภารกิจที่ได้รับมอบหมายเพิ่มมากขึ้น จึงได้เปลี่ยนชื่อหน่วยจากกองเรือบริการ เป็นกองเรือยกพลขึ้นบกและบริการ ต่อมากองทัพเรือได้มีการจัดหน่วยของกองเรือยุทธการใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยมีการปรับกองเรือยกพลขึ้นบกและบริการ ออกเป็น ๒ กองเรือ คือ กองเรือยกพลขึ้นบก และกองเรือยุทธบริการ เพื่อที่จะได้แยกภารกิจการปฏิบัติออกจากกันโดยเด่นชัด ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน ๒๕๓๕ และหลังจากการปรับโครงสร้างใหม่ ทร. ในปีงบประมาณ ๒๕๕๒ นับตั้งแต่ ๑ เม.ย.๕๒ มีการรวมกองเรือยกพลขึ้นบกและกองเรือยุทธบริการ เข้าด้วยกันโดยใช้ ชื่อใหม่ว่า “กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ”

     กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ เป็นหน่วยขึ้นตรงกองเรือยุทธการ ที่ตั้งปัจจุบันของกองบัญชาการ  กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ อยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร แบ่งการบังคับบัญชาออกเป็น ๓ หมวดเรือ ประกอบด้วยเรือยกพลขึ้นบก และเรือยุทธบริการ ประเภทต่าง ๆ จำนวนทั้งสิ้น ๒๕ ลำ แบ่งเป็น เรือยกพลขนาดใหญ่ ๒ ลำ เรือระบายพลขนาดใหญ่ ๙ ลำ , เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ ๑ ลำ , เรือน้ำมัน ๕ ลำ , เรือน้ำ ๒ ลำ , เรือลากจูงขนาดใหญ่  ๒ ลำ , เรือลากจูงขนาดกลาง ๒ ลำ , เรือลากจูงขนาดเล็ก ๒ ลำ นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ปกครองบังคับบัญชาเรือของกองเรือ ยุทธการ ที่เข้ารับการซ่อมทำที่บริษัทอู่กรุงเทพ

     หมวดเรือที่ ๑ ประกอบด้วย เรือยกพลขนาดใหญ่ จำนวน ๒ ลำ ได้แก่ ร.ล.อ่างทอง, ร.ล. สีชัง , ร.ล. สุรินทร์

เรือหลวงอ่างทอง

     เรือหลวงอ่างทอง เป็น เรือยกพลขึ้นบกขนาดใหญ่ หมายเลขเรือ 791 สั่งต่อโดย อู่เรือบริษัท Singapore Technologies จำกัด ประเทศสิงคโปร์ เพื่อใช้ในภารกิจช่วยเหลือประชาชน การบรรเทาสาธารณภัย การปฏิบัติการสะเทินน้ำสะเทินบก การขนส่งลำเลียงทางทะเล เป็นเรือบัญชาการและฐานปฏิบัติการในทะเล โดยเรือหลวงอ่างทองมีขนาดใหญ่เป็น “ลำดับที่ 3″ รองจาก เรือหลวงจักรีนฤเบศร และ เรือหลวงสิมิลัน มีขีดความสามารถในการเคลื่อนกำลังจากทะเลสู่ฝั่ง (โจมตีโฉบฉวยสะเทินน้ำสะเทินบก)

     ลักษณะทั่วไป ตัวเรือมีขนาดกว้าง 21 เมตร ยาว 141 เมตร กินน้ำลึก 4.6 เมตร ระวางขับน้ำสูงสุด 7,600 ตัน ความเร็วสูงสุดไม่ต่ำกว่า 17 นอต ระยะปฏิบัติการที่ความเร็ว 12 นอต ไม่น้อยกว่า 5,000 ไมล์ สามารถปฏิบัติการในทะเลต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 45 วัน ปฏิบัติการในทะเลได้ถึง Sea State 6 รองรับกำลังทหารได้ 500 นาย บรรจุอัตรากำลังพลประจำเรือทั้งสิ้น 151 อัตรา

     บริเวณดาดฟ้า ฮ. Flight Deck สามารถรับ – ส่ง เฮลิคอปเตอร์แบบ Sea Hawk ได้ 2 เครื่อง หรือเฮลิคอปเตอร์ แบบ CH – 47 ได้ 1 เครื่อง ส่วนโรงเก็บอากาศยาน สามารถรองรับเฮลิคอปเตอร์แบบ ซีฮอว์ค ได้ 2 เครื่อง นอกจากนี้บริเวณดาดฟ้าบรรทุก สามารถรองรับรถถังแบบ M60 ได้ 15 คัน หรือ ยานรบสะเทินน้ำสะเทินบก แบบ AAVS ได้ 19 คัน ส่วนอู่ลอย Well Dock สามารถรับ – ปล่อยเรือ และบรรทุกเรือระบายพลขนาดกลางประจำเรือ ได้ 2 ลำ รวมทั้งมี Ramp ท้าย (ประตูท้าย) สำหรับเปิด – ปิด ในการ รับ – ปล่อยเรือ ยานและยุทโธปกรณ์ในขณะเรือเดินและเรือจอด โดยสามารถต่อเชื่อมกับเรือระบายพลขนาดใหญ่ได้ รวมทั้งมีประตูข้างเรือ และ/หรือ Ramp ข้างเรือ สำหรับขนถ่ายยานพาหนะ ได้อีกด้วย

     ระบบการรบ ประกอบด้วย ระบบอำนวยการรบ TERMA C – Flex จากเดนมาร์ก ระบบควบคุมการยิง TERMA C – Fire ประเทศอังกฤษ ระบบอาวุธ ปืนหลัก 1 แท่น แบบ OTO Melara 76/62 Super Rapid จากประเทศอิตาลี ปืนกลขนาด 30 มิลลิเมตร แบบ Sea Hawk MSI – DS30 MR จาก ประเทศอังกฤษ และปืนกล ขนาด 12.7 มิลลิเมตร จำนวน 6 กระบอก

     นอกจากนี้ เรือหลวงอ่างทอง สามารถบรรทุกเรือระบายพลประจำเรือได้อีก 2 ลำ คือ เรือระบายพลขนาดเล็ก (LCVP) ขนาดความยาวตลอดลำ 13 เมตร น้ำหนักบรรทุก ไม่น้อยกว่า 3.6 ตัน หรือ บรรทุกทหารได้ 36 คน ทำความเร็วสูงสุด มากกว่า 15 นอต และ เรือระบายพลขนาดกลาง (LCM) ความยาวตลอดลำ 23 เมตร น้ำหนักบรรทุก ไม่น้อยกว่า 18 ตัน ความเร็วสูงสุด มากกว่า 12 นอต

     หมวดเรือที่ ๒ ประกอบด้วย เรือระบายพลขนาดใหญ่ จำนวน ๙ ลำ ได้แก่ ร.ล. ทองแก้ว , ร.ล. ทองหลาง ,ร.ล. วังนอก ,ร.ล. วังใน ,ร.ล. มันนอก ,ร.ล. มันกลาง ,ร.ล. มันใน ,ร.ล. มัตโพน ,ร.ล. ราวี

     หมวดเรือที่ ๓ ประกอบ ด้วย เรือส่งกำลังบำรุงขนาดใหญ่ จำนวน ๑ ลำ คือ ร.ล. สิมิลัน , เรือน้ำมัน จำนวน ๕ ลำ ได้แก่ ร.ล.  จุฬา , ร.ล. สมุย , ร.ล. ปรง , ร.ล. เปริด , ร.ล. เสม็ด, เรือน้ำ จำนวน ๒ ลำ ได้แก่ ร.ล. จวง , ร.ล. จิก และเรือลากจูง จำนวน ๖ ลำ ได้แก่ ร.ล. กลึงบาดาล , ร.ล. มารวิชัย , ร.ล. ริ้น , ร.ล. รัง , ร.ล. แสมสาร และ ร.ล. แรด  รวมทั้งสิ้น จำนวน ๑๔ ลำ

     หน้าที่ของกองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ

     - จัดและเตรียมกำลังสำหรับปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก และการสนับสนุนการส่งกำลังบำรุงกับหน่วยต่าง ๆ ตามที่ร้องขอ

     กิจที่ต้องดำเนินการ

     ยามปกติ

     - จัดและเตรียมกำลังทางเรือ ตลอดจนฝึก-อบรมกำลังพลให้พร้อมที่จะปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบก เช่น การฝึกองค์บุคคลและยุทธวิธี , การฝึกโจมตีโฉบฉวยสะเทินน้ำสะเทินบก , การฝึกร่วม/ผสมกับต่างประเทศ ได้แก่ การฝึกร่วม/ผสมคอบร้าโกลด์ และการฝึกผสม CARAT

     - จัดเตรียมเรือไปปฏิบัติงานในหน่วยต่าง ๆ (ทรภ. และหน่วยเฉพาะกิจ)

     - จัดเตรียมเรือสำหรับการสนับสนุนการฝึกหน่วยต่าง ๆ ทั้งใน และนอก ทร. เช่น การฝึก นรจ.พรรคพิเศษ และ นย. , การฝึก นรจ.รร.ชุมพล และ รร.สส. , การฝึก นนร.ชั้นปีที่ ๑ – ๔ , การฝึกหลักสูตรและการปฏิบัติงานของหน่วยต่าง ๆ ได้แก่ กฝร. , นย. , สพ.ทร. และการฝึกภาคทะเลของนักเรียนเตรียมทหาร เป็นต้น

      ยามสงคราม

     - ปฏิบัติการยุทธสะเทินน้ำสะเทินบกตามที่หน่วยเหนือสั่งการ/ตามแผน

     กิจพิเศษที่หน่วยเหนือมอบหมาย

     - การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลตามที่หน่วยเหนือสั่งการ

     - ปกครองบังคับบัญชาเรือของ กร. ที่เข้ารับการซ่อมทำที่ บอท.

     - จัดเตรียมกำลังเรือ ยพญ. ๑ ลำ เป็นกำลังเตรียมพร้อมในกองกำลังเตรียมพร้อมสหประชาชาติ พร้อมปฏิบัติการภายใน ๓๐ วัน เมื่อสั่งในการแก้ไขปัญหาของสหประชาชาติในลักษณะของการปฏิบัติการเพื่อ สันติภาพ ( PEACE OPERATION )   เช่น ในกรณีของการเดินทางปฏิบัติภารกิจในกองกำลังรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ของ ร.ล. สุรินทร์

     - การช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลตามที่หน่วยเหนือสั่งการ เช่น เหตุการณ์ธรณีพิบัติฝั่งทะเลอันดามัน

     ผลงานที่ผ่านมา

     จากภารกิจหลักทางด้านการทหารที่กล่าวมาแล้วขั้นต้น กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการ ยังได้รับความไว้วางใจจากผู้บังคับบัญชา ให้ปฏิบัติภารกิจสนับสนุนและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยธรรมชาติ เช่น อุทกภัย     วาตภัย โดยทำการลำเลียง เครื่องอุปโภคบริโภคไปแจกจ่ายให้กับพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนใน ขณะนั้น  ซึ่งในอดีต กองเรือยกพลขึ้นบกและยุทธบริการได้รับโอกาสให้ปฏิบัติภารกิจที่สำคัญ ๆ ในลักษณะเช่นนี้มาแล้วอย่างมีประสิทธิภาพและสำเร็จลุล่วงตามความมุ่งหมายของ ทางราชการหลายครั้ง อาทิ พายุใต้ฝุ่นเกย์พัดเข้ามาทางภาคใต้ พายุโซนร้อนลินดา เกิดแผ่นดินไหวในประเทศฟิลิปปินส์ เกิดมหันตภัยร้ายแรงที่ประเทศบังคลาเทศ โดยเกิดพายุไซโคลนในอ่าวเบงกอล ลำเลียงแรงงานไทยจากประเทศสิงคโปร์กลับประเทศไทย การลำเลียงข้าวสารไปช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในประเทศโซมาเลีย ปฏิบัติราชการให้การสนับสนุนด้านมนุษยธรรมกับองค์การสหประชาชาติในการรักษา สันติภาพในติมอร์ตะวันออก ลำเลียงสิ่งของบรรเทาทุกข์ช่วยเหลือประชาชนที่ประสบอุทกภัยที่กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา การเกิดคลื่นยักษ์สึนามิบริเวณฝั่งทะเลอันดามัน และได้รับมอบหมายจาก ทร. จัด ร.ล. สิมิลัน ร่วมปฏิบัติภารกิจกับกองกำลังผสมทางทะเล กองกำลังทางเรือสหรัฐ เป็นหมู่เรือปราบปรามโจรสลัด (มปจ.) ในอ่าวเอเดนและชายฝั่งโซมาเลีย ครั้งที่ ๑ ตั้งแต่ ๘ ก.ย.๕๓ – ๑๕ ธ.ค.๕๓ และครั้งที่ ๒ ตั้งแต่ ๑๐ ก.ค.๕๔ – ๓๐ พ.ย.๕๔

รูปภาพเพิ่มเติม

Related Articles

แบบสำรวจ
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบนเว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

จัดการความเป็นส่วนตัว
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
(Strictly Necessary Cookies) เปิดใช้งานตลอด

คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้